ยินดีต้อนรับ

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555

กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน

กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน หมายถึง กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการใช้แรงงานและการจ่ายค่าตอบแทนในการทำงาน ทั้งนี้ เพื่อให้ลูกจ้างทำงานด้านความปลอดภัย มีสุขภาพอนามัยดี ได้รับค่าตอบแทนและสวัสดิการตามสมควร


กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ เป็นกฎหมายที่กำหนดแนวทางปฏิบัติต่อกันระหว่างบุคคลสองฝ่าย คือ ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง เพื่อให้บุคคลทั้งสองฝ่ายได้มีความเข้าใจอันดีต่อกัน สามารถตกลงในเรื่องสิทธิหน้าที่ และผลประโยชน์ในการทำงานร่วมกันได้รวมทั้งกำหนดวิธีการระงับข้อขัดแย้งหรือ ข้อพิพาทแรงงานที่เกิดขึ้น
ให้ยุติลงโดยรวดเร็ว ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสงบสุข ในสถานประกอบกิจการ ซึ่งจะส่งผลถึงเศรษฐกิจและความมั่นคง
ของประเทศ


กฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กฎหมายดังกล่าวคือ พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
พ.ศ. 2534 เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและแรงงานสัมพันธ์ในภาครัฐวิสาหกิจ
เป็นการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ซึ่งไม่น้อยกว่ามาตรฐานขั้นต่ำตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน


กฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน เป็นการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำให้สถานประกอบกิจการถือปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยที่ดีปราศจากอุบัติเหตุ และโรคเนื่องจากการทำงาน


"ประกาศหรือคำสั่งของกระทรวงแรง งาน และประกาศหรือคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงานที่ออกตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2515 ให้ยังคงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ทั้งนี้จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ระเบียบและประกาศ ที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ"


"พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มีสาระสำคัญดังนี้"


1. วันทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 6 วัน


2 . กำหนดเวลาทำงานปกติในทุกประเภทไม่เกิน 8 ชั่วโมง / วัน หรือไม่เกิน 48 ชั่วโมง / สัปดาห์
ถ้าเป็นการทำงานอันตรายต่อสุขภาพตามกฏกระทรวง กำหนดให้ทำงานไม่เกิน 7 ชั่วโมง / วัน หรือไม่เกิน 42 ชั่วโมง/สัปดาห์


3 . กำหนดเวลาพักระหว่างวันทำงาน ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง อาจตกลงพักน้อยกว่าครั้งละ 1 ชั่วโมงก็ได้ แต่รวมกันไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง / วัน


4 . กำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 วัน ห่างกันไม่เกิน 6 วัน และวันหยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน รวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย สำหรับวันหยุดผักผ่อนประจำปี ไม่น้อยกว่า 6 วันทำการ เมื่อลูกจ้างทำงานครบ 1 ปี


1. อัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัดภูเก็ตคือ 181 บาท/วัน


2. ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุด


    * ทำเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ได้รับค่าล่วงเวลา 1.5 เท่าของอัตราค่าจ้าง/ชั่วโมง
    * ทำงานในวันหยุดในเวลาปกติ / สำหรับวันหยุดที่ได้ค่าจ้างจะได้รับเพิ่มอีก 1 เท่า ในวันหยุดที่ไม่ได้รับค่าจ้างจะได้รับเพิ่มเป็น 2 เท่าของค่าจ้างในวันทำงาน
    * ทำงานล่วงเวลาในวันหยุด ได้รับค่าล่วงเวลาในวันหยุดไม่น้อยกว่า 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง ในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ


3. ลูกจ้างทั้งชายและหญิง มีสิทธิได้รับค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เท่าเทียมกันในงานที่มีลักษณะและคุณภาพอย่างเดียวกันและปริมาณเท่ากัน


1. ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง แต่ได้รับค่าจ้างไม่เกิน 30 วันทำงาน


2. ลาคลอดได้ไม่เกิน 90 วัน โดยได้รับค่าจ้าง 45 วัน


3. ลาเพื่อรับราชการทหาร ได้ไม่เกินปีละ 60 วัน โดยได้รับค่าจ้าง


4. ลาเพื่อทำหมันได้รับค่าจ้างตลอดเวลาที่แพทย์วินิจฉัยให้หยุด


5. ลากิจธุระ อันจำเป็น แล้วแต่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน


6. ลาเพื่อเข้ารับการอบรม


วันหยุด


1. วันหยุดประจำสัปดาห์ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน สำหรับลูกจ้างรายวันไม่ได้รับค่าจ้าง


2. วันหยุดตามประเพณี อย่างน้อยปีละ 13 วัน (รวมวันแรงงานแห่งชาติแล้ว) โดยได้รับค่าจ้าง


3. วันหยุดพักผ่อนประจำปี ปีละ 6 วันทำงาน โดยได้รับค่าจ้าง ซึ่งนายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าว




1. ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย หากนายจ้างเลิกจ้าง โดยลูกจ้างไม่มีความผิดดังนี้


1) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วันแต่ไม่ครบ 1 ปี มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
2) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปีแต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
3) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปี มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
4) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6 ปีแต่ไม่ครบ 10 ปี มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน
5) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน


2. กรณีย้ายสถานประกอบการ นายจ้างต้องแจ้งให้แก่ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่เกิน 30 วัน หากลูกจ้างไม่ต้องการไปทำงานด้วย ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญา โดยได้รับค่าชดเชยพิเศษ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ


3. ค่าชดเชยพิเศษ ในกรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุปรับปรุงหน่วยงานกระบวนการผลิต
การจำหน่ายหรือการบริการ อันเนื่องมาจากการนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือเทคโนโลยี
หากนายจ้าง ไม่แจ้งล่วงหน้าหรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่าระยะเวลา 60 วันนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษดังนี้


1) ลูกจ้างจะได้รับค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 60 วัน
2) ลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชยตามกฏหมาย
3) ลูกจ้างที่มีอายุงาน 6 ปีขึ้นไป มีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษปีละ 15 วัน เมื่อรวมค่าชดเชยทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 360 วัน


นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน
หนังสือเตือนให้มีผลบังคับใช้ได้ไม่เกินหนึ่งปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีสาเหตุอันสมควร
(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่เป็นนักโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ


1. ห้ามใช้แรงงานเด็ก อายุต่ำกว่า 15 ปีทำงานโดยเด็ดขาด


2. ห้ามใช้แรงงานเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ในกิจการบางประเภท และทำงานระหว่างเวลา 22.00 น. - 06.00 น. ทำงานวันหยุดและทำงานล่วงเวลา


3. ห้ามใช้แรงงานเด็กในสถานที่ เต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง และตามที่กำหนดในกฏหมาย


4. ให้ลูกจ้างเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี มีสิทธิลาเพื่อรับการอบรม สัมมนา ที่จัดโดยสถานศึกษา หรือหน่วยงานของรัฐ โดยได้รับค่าจ้างแต่ไม่เกิน 30 วันต่อปี


5. การว่าจ้างแรงงานเด็กต่ำกว่า 18 ปี ต้องแจ้งพนักงานตรวจแรงงานภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่เด็กเข้าทำงาน
1. การใช้แรงงานหญิง ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงทำงานต่อไปนี้


    * งานเหมืองแร่หรืองานก่อสร้างที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือปล่องในภูเขาเว้นแต่ลักษณะของงาน ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือ ร่างกายของลูกจ้างหญิงนั้น
    * งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป
    * งานผลิตหรือขนส่งวัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟ
    * งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง


2. ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงที่มีครรภ์ทำงานในระหว่างเวลา 22.00น.-06.00น. ทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุดหรือทำงานอย่างหนึ่งอย่างใด


3. ห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างหญิงเพราะเหตุมีครรภ์


4. ให้แรงงานหญิงมีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตร ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน


5. ห้ามนายจ้าง หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงานหรือผู้ตรวจงาน ล่วงเกินทางเพศต่อแรงงานหญิง หรือเด็ก
1. ให้นายจ้างหรือสถานประกอบการที่มีลูกจ้างน้อยกว่า 50 คน ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในการทำงาน ระดับพื้นฐาน ระดับหัวหน้างาน และระดับบริหาร เพื่อดูแลความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบการร่วมกับนายจ้าง


2. การกำหนดให้นายจ้างหรือสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คน ขึ้นไป ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงานระดับหัวหน้างาน ระดับบริหาร และระดับวิชาชีพ


3. กำหนดให้สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานประกอบด้วย นายจ้าง ผู้แทนระดบับังคับบัญชา ผู้แทนลูกจ้างระดับปฏิบัติการ และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน โดยมีคณะกรรมการ ตามขนาดของสถานประกอบการ


4. การให้ความคุ้มครองอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับสภาพงานและได้มาตรฐานโดยให้นายจ้างเป็นผู้จัดให้ อาทิ ตามที่กำหนดในกฏกระทรวง ให้นายจ้างต้องจัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยสาวนบุคคลให้ลูกจ้างตามลักษณะของงาน และลูกจ้างต้องสวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าวตลอดเวลาการทำงานโดยบังคับ

มูลมังอีสาน

สำบายดีเด้อครับ ยินดีที่ได้รู้จัก

หลักกฎหมายอาญา

 กฎหมายอาญา
1. กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันสังคมให้เกิดความสงบเรียบร้อย โดยกำหนดว่าการกระทำใดเป็นความผิดอาญาและกำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืน
                    2. ลักษณะที่สำคัญของกฎหมายอาญา คือเป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้งและไม่มีผลบังคับย้อนหลังที่เป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิด
                    3. โทษทางอาญามี 5 ชนิด คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับและริบทรัพย์สิน4. การกระทำความผิดทางอาญามีบางกรณีที่กฎหมายยกเว้นโทษและยกเว้นความผิด
                    5. เด็กและเยาวชนกระทำความผิดอาจได้รับโทษต่างกับการกระทำความผิดของผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กและเยาวชนเป็นผู้อ่อนเยาว์ ปราศจากความรู้สึกรับผิดชอบ การลงโทษต้องคำนึงถึงอายุของเด็กกระทำความผิด

                กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่ว่าด้วยความผิดและโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิด ตัวบทที่สำคัญๆ ของกฎหมายอาญาก็คือ ประมวลกฎหมายอาญา นอกจากประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ยังมีพระราชบัญญัติอื่นๆที่กำหนดโทษทางอาญาสำหรับการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินั้น เช่น พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พระราชบัญญัติการพนัน เป็นต้น
                ทุกสังคมย่อมมีกฎเกณฑ์ ข้อบังคับความประพฤติของสมาชิกในสังคมนั้นๆ บุคคลใดมีการกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ จัดเป็นการกระทำความผิดทางอาญา ดังนั้นกฎหมายอาญาจึงเป็นกฎหมายซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการป้องกันสังคม เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยโดยการกำหนดว่า การกระทำใดเป็นความผิดอาญาและได้กำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืน กระทำความผิดนั้นๆ

1. ความผิดทางอาญา
                ความผิดทางอาญา คือ การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศ   เมื่อบุคคลใดกระทำความผิดทางอาญา จะต้องได้รับโทษตามกฎหมายมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของการกระทำความผิด กฎหมายมิได้ถือว่าการกระทำความผิดทุกอย่างร้ายแรงเท่าเทียมกัน การลงโทษผู้กระทำความผิดจึงขึ้นอยู่กับการกระทำ และสังคมมีความรู้สึกต่อการกระทำนั้นๆ ว่า อะไรเป็นปัญหาสำคัญมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจจะแบ่งการกระทำความผิดอาญาออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
                1.1 ความผิดต่อแผ่นดิน หมายถึง ความผิดในทางอาญา ซึ่งนอกจากเรื่องนั้นจะมีผลต่อตัวผู้รับผลร้ายแล้ว ยังมีผลกระทบที่เสียหายต่อสังคมอีกด้วย และรัฐจำเป็นต้องป้องกันสังคมเอาไว้ด้วยการยื่นมือเข้ามาเป็นผู้เสียหายเอง ดังนั้นแม้ผู้รับผลร้ายจากการกระทำโดยตรงจะไม่ติดใจเอาความ แต่ก็ยังต้องเข้าไปดำเนินคดีฟ้องร้องเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้
                กรณีตัวอย่างที่ 1 นายมังคุดทะเลาะกับนายทุเรียน นายมังคุดบันดาลโทสะใช้ไม้ตีศีรษะนายทุเรียนแตก นายทุเรียนไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ดำเนินคดีกับนายมังคุดในข้อหาทำร้ายร่างกายผู้อื่น ต่อมานายทุเรียนหายโกรธนายมังคุดก็ไม่ติดใจเอาเรื่องกับนายมังคุด แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องดำเนินคดีกับนายทุเรียนต่อไปเพราะเป็นความผิดต่อแผ่นดิน
                กรณีตัวอย่างที่ 2 นายแตงโมขับรถยนต์ด้วยความประมาทไปชนเด็กชายแตงไทยถึงแก่ความตายเป็นความผิดอาญาฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต่อมานายแตงกวาและนางแต่งอ่อนบิดามารดาของเด็กชายแตงไทย ได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากนายแตงโมเป็นเงิน 200,000 บาทแล้ว จึงไม่ติดใจเอาความกับนายแตงโม แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องดำเนินคดีกับนายแตงโมต่อไป เพราะความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายเป็นความผิดต่อแผ่นดิน
                1.2 ความผิดอันยอมความกันได้ หมายถึง ความผิดในทางอาญาซึ่งไม่ได้มีผลร้ายกระทบต่อสังคมโดยตรง หากตัวผู้รับผลร้ายไม่ติดใจเอาความแล้ว รัฐก็ไม่อาจยื่นมือเข้าไปดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้ และถึงแม้จะดำเนินคดีไปแล้ว เมื่อตัวผู้เสียหายพอใจยุติคดีเพียงใดก็ย่อมทำได้ด้วยการถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความ เช่น ความผิดฐานหมิ่นประมาท ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ เป็นต้น
                กรณีตัวอย่างที่ 1 นายโก๋และนางกี๋ลักลอบได้เสียกัน นายแฉแอบเห็นเข้า จึงได้นำความไปเล่าให้นายเชยผู้เป็นเพื่อนฟัง การกระทำของนายแฉมีความผิดฐานหมิ่นประมาท เมื่อนายโก๋และนางกี๋รู้เข้าจึงไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ นายแฉไปหานายโก๋และนางกี๋  เพื่อขอขมานายโก๋และนางกี๋จึงถอนคำร้องทุกข์ดังนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีกับนายแฉอีกต่อไป ถือว่าเป็นความผิดอันยอมความกันได้
                กรณีตัวอย่างที่ 2 นายตำลึงล่ามโซ่ใส่กุญแจประตูใหญ่บ้านของนายมะกรูด ทำให้นายมะกรูดออกจากบริเวณบ้านไม่ได้ นายมะกรูดต้องปีนกำแพงรั้งกระโดลงมา การกระทำของนายตำลึงเป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้ปราศจากเสรีภาพ นายมะกรูดจึงไปแจ้งความยังสถานีตำรวจ นายตำลึงได้ไปหานายมะกรูดยอมรับความผิด และขอร้องไม่ให้นายตำลึงเอาความกับตนเอง นายตำลึงเห็นใจจึงไปถอนคำร้องทุกข์ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะดำเนินคดีต่อไปอีกไม่ได้เพราะเป็นความผิดอันยอมความกันได้

2. ลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญา
                2.1 เป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้ง ในขณะกระทำความผิดต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้แล้วอย่างชัดแจ้งว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด เจ้าหน้าที่ผู้ใช้กฎหมายจะสร้างกฎหมายใหม่ขึ้นมาใช้บังคับแก่ประชาชนคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะไม่ได้ เช่น กฎหมายบัญญัติว่า “การลักทรัพย์เป็นความผิด” ดังนั้น ผู้ใดลักทรัพย์ก็ย่อมมีความผิดเช่นเดียวกัน
                2.2 เป็นกฎหมายที่ไม่มีผลย้อนหลัง เป็นโทษไม่ได้แต่เป็นคุณได้ ถ้าหากในขณะที่มีการกระทำสิ่งใดยังไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด แม้ต่อมาภายหลังจะมีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำอย่างเดียวกันนั้นเป็นความผิด ก็จะนำกฎหมายใหม่ใช้กับผู้กระทำผิดคนแรกไม่ได้
                กรณีตัวอย่าง นายมะม่วงมีต้นไม้สักขนาดใหญ่ซึ่งขึ้นในที่ดิน ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของเขา นายมะม่วงได้ตัดต้นสัก เลื่อยแปรรูปเก็บเอาไว้ ก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติป่าไม้ ฉบับที่ 3 ออกมาบังคับใช้ ถือว่าไม้สักเป็นไม้หวงห้ามก็ตาม นายมะม่วงก็ไม่มีความผิด เพราะจะใช้กฎหมายใหม่ย้อนหลังลงโทษทางอาญาไม่ได้

3. โทษทางอาญา
                1) ประหารชีวิต คือ นำตัวไปยิงด้วยปืนให้ตาย
                2) จำคุก คือ นำตัวไปขังไว้ที่เรือนจำ
                3) กักขัง คือนำตัวไปขังไว้ ณ ที่อื่น ที่ไม่ใช่เรือนจำ เช่น นำไปขังไว้ที่สถานีตำรวจ
                4) ปรับ คือ นำค่าปรับซึ่งเป็นเงินไปชำระให้แก่เจ้าพนักงาน
                5) ริบทรัพย์สิน คือ ริบเอาทรัพย์สินนั้นเป็นของหลวง เช่น ปืนเถื่อน ให้ริบ ฯลฯ

4. บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาและได้รับโทษทางอาญาเมื่อใด
                บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาต่อเมื่อ
                4.1 กระทำโดยเจตนา คือ การกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
                กรณีตัวอย่างที่ 1 นายฟักรู้ว่านายแฟง ซึ่งเป็นศัตรูจะต้องเดินผ่านสะพานข้ามคลองหลังวัดสันติธรรมทุกเช้าเวลาประมาณ 08.00 น. เขาจึงไปดักซุ่มอยู่ใกล้บริเวณนั้น เมื่อนายแฟงเดินมาใกล้นายฟักจึงใช้ปืนยิงไปที่นายแฟง 1 นัด กระสุนปืนถูกบริเวณหน้าอกของนายแฟง เป็นเหตุให้นายแฟงถึงแก่ความตาย นายฟักมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา
                กรณีตัวอย่างที่ 2 ดาวเรืองทะเลาะกับบานชื่น ดาวเรืองพูดเถียงสู้บานชื่นไม่ได้ ดาวเรืองจึงตบปากบานชื่น 1 ที่ ดาวเรืองมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายโดยเจตนา
                4.2 กระทำโดยไม่เจตนา แต่ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยแจ้งชัดให้รับผิดแม้กระทำโดยไม่เจตนากระทำโดยไม่เจตนา คือ ผู้กระทำไม่ได้ประสงค์ต่อผล หรือไม่อาจเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้ เช่น เราผลักเพื่อนเพียงจะหยอกล้อเท่านั้น แต่บังเอิญเพื่อนล้มลงไป ศีรษะฟาดขอบถนนถึงแก่ความตาย เป็นต้น
                4.3 กระทำโดยประมาท แต่ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาทการกระทำโดยประมาท คือ การกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านี้ได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
                กรณีตัวอย่าง นายเหิรฟ้าใช้อาวุธปืนขู่นายเหิรลม เพื่อไม่ให้เอาแป้งมาป้ายหน้านายเหิรฟ้า โดยที่นายเหิรฟ้าไม่รู้ว่าอาวุธปืนกระบอกนั้น มีลูกกระสุนปืนบรรจุอยู่ เป็นเหตุให้กระสุนปืนลั่นไปถูกนายเหิรลมตาม นายเหิรฟ้ามีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
                อนึ่ง “การกระทำ” ไม่ได้หมายความเฉพาะถึงการลงมือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น แต่หมายความรวมถึงการงดเว้นการกระทำโดยประสงค์ให้เกิดผลและเล็งเห็นผลที่จะเกิดเช่น แม่จงใจทิ้งลูกไม่ให้กินข้าว จนทำให้ลูกตาย ตามกฎหมายแม่มีหน้าที่จะต้องเลี้ยงดูลูก เมื่อแม่ละเลยไม่ทำหน้าที่ดังกล่าวจึงเป็นเหตุให้ลูกตาย ย่อมเป็นการกระทำความผิดโดยงดเว้น ถ้าการงดเว้นนั้นมีเจตนางดเว้นก็ต้องรับผิดในฐานะกระทำโดยเจตนา ถือว่าเป็นความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา

บุคคลจะต้องได้รับโทษทางอาญาต่อเมื่อ
                1. การกระทำอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้น บัญญัติเป็นความผิดซึ่งเป็นไปตามหลักที่ว่า “ไม่มีความผิดโดยปราศจากกฎหมาย”
                2. กฎหมายที่ใช้ในขณะนั้นต้องกำหนดโทษไว้ด้วย เป็นไปตามหลักที่ว่า “ไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย” การลงโทษต้องเป็นโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เช่น กฎหมายกำหนดโทษปรับศาลจะลงโทษจำคุกไม่ได้ แม้ศาลจะลงโทษปรับศาลก็ลงโทษปรับเกินอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่ได้
                กรณีตัวอย่าง ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 372 บัญญัติว่า ผู้ใดทะเลาะกันอย่างอื้ออึงในทางสาธารณะ หรือสาธารณสถานหรือกระทำโดยประการอื่นใด ให้เสียความสงบเรียบร้อยในทางสาธารณะหรือสาธารณะสถานต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท  ดังนั้น ถ้าผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรานี้ศาลจะลงโทษจำคุกไม่ได้  เพราะความผิดตามมาตราดังกล่าวกำหนดเฉพาะโทษปรับเท่านั้น ถ้าศาลจะลงโทษปรับก็จะปรับได้ไม่เกิน 500 บาท

5. เหตุที่กฎหมายไม่ลงโทษ
                โดยหลักทั่วไปแล้วบุคคลใดกระทำความผิดต้องรับโทษ แต่มีบางกรณีที่กฎหมายไม่ลงโทษ   เหตุที่กฎหมายไม่ลงโทษนั้น เป็นกรณีที่กฎหมายไม่ลงโทษผู้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด หมายความว่า ผู้กระทำยังมีความผิดอยู่แต่กฎหมายยกเว้นโทษให้ ต่างกับกรณียกเว้นความผิด ซึ่งผู้กระทำไม่มีความผิดเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามทั้งเหตุยกเว้นและหยุดยกเว้นความผิดต่างก็มีผลทำให้ผู้กระทำรับโทษเหมือนๆกัน
                เหตุยกเว้นโทษทางอาญา  
                การกระทำความผิดอาญาที่ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษถ้ามีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย เช่น
                    1. การกระทำความผิดด้วยความจำเป็น
                    2. การกระทำความผิดเพราะความบกพร่องทางจิต
                    3. การกระทำความผิดเพราะความมึนเมา
                    4. การกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน
                    5. สามีภริยากระทำความผิดต่อกันในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์บางฐาน
                    6. เด็กอายุไม่เกิน 14 ปีกระทำความผิด

6. เด็กและเยาวชนกระทำความผิด
                เด็กอาจกระทำความผิดได้เช่นเดียวผู้ใหญ่ แต่การกระทำความผิดของเด็กอาจได้รับโทษต่างจากการกระทำของผู้ใหญ่ ทั้งนี้เนื่องจากเด็กเป็นผู้อ่อนเยาว์ ปราศจากความรู้สึกรับผิดชอบหรือขาดความรู้สึกสำนึกเท่าผู้ใหญ่ การลงโทษเด็กจำต้องคำนึงถึงอายุของเด็ก   ผู้กระทำความผิดด้วย   กฎหมายได้แบ่งการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนออกเป็น 4 ช่วงอายุ คือ
                1) เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี
                2) เด็กอายุกว่า 7 ปี แต่ยังไม่เกิน 14 ปี
                3) เยาวชนอายุเกินกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี
                4) เยาวชนอายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี
            สำหรับเด็กในช่วงอายุไม่เกิน 7 ปี และเด็กอายุกว่า 7 ปีแต่ไม่เกิน 14 ปีเท่านั้น  ที่กฎหมายยกเว้นโทษให้ ส่วนผู้ที่อายุเกินกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี และผู้ที่มีอายุกว่า 17 ปี  แต่ไม่เกิน 20 ปี หากกระทำความผิดกฎหมายก็จะไม่ยกเว้นโทษให้ เพียงแต่ให้รับลดหย่อนโทษให้
                    6.1 เด็กอายุไม่เกิน 7 ปีการกระทำความผิด เด็กไม่ต้องรับโทษเลย ทั้งนี้เพราะกฎหมายถือว่าเด็กในวัยนี้ยังไม่สามารถรู้ผิดชอบได้ ฉะนั้นจะมีการจับกุมฟ้องร้อยเกในทางอาญามิได้
                    6.2 เด็กอายุกว่า 7 ปี แต่ไม่เกิน 14 ปีกระทำความผิด เด็กนั้นก็ไม่ต้องรับโทษเช่นกัน แต่กฎหมายให้อำนาจศาลที่จะใช้วิธีการสำหรับเด็ก เช่น
                            1) ว่ากล่าวตักเตือนเด็กนั้นแล้วปล่อยตัวไป
                            2) เรียกบิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่มาตักเตือนด้วยก็ได้
                            3) มอบตัวเด็กให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองไป โดยวางข้อกำหนดให้บิดามารดาหรือผู้ปกครองระวังเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้าย
                            4) มอบเด็กให้แก่บุคคลที่เด็กอาศัยอยู่ เมื่อเขายอมรับข้อกำหนดที่จะระวังเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้าย
                            5) กำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติ
                            6) มอบตัวเด็กให้กับบุคคลหรือองค์การที่ศาลเห็นสมควร เพื่อดูและอบรมและสั่งสอนเด็กในเมื่อบุคคลหรือองค์การนั้นยินยอม
                            7) ส่งตัวเด็กนั้นไปยังโรงเรียนหรือสถานฝึกอบรม หรือสถานที่ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อฝึกและอบรม
                    6.3 เยาวชนอายุเกิน 14 ปี แต่ไม่เกิน 17 ปีกระทำความผิด ผู้ที่อายุกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ให้ศาลพิจารณาถึงความรู้ผิดชอบและสิ่งอื่นทั้งปวงเกี่ยวกับผู้นั้นในอันควรวินิจฉัยว่าสมควรพิพากษาลงโทษผู้นั้นหรือไม่ศาลอาจใช้วิธีการตามข้อ 6.2 หรือลงโทษเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ โดยลดมาตราส่วนโทษที่จะใช้กับเยาวชนนั้นลงกึ่งหนึ่ง ก่อนที่จะมีการลงโทษเยาวชนผู้กระทำความผิด
                    6.4 เยาวชนอายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปีกระทำความผิด ผู้ที่อายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี กระทำอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นลง 1 ใน 3 หรือกึ่งหนึ่งก็ได้จะเห็นได้ว่า ผู้ที่อายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี กฎหมายไม่ถือว่าเป็นเด็ก   แต่กฎหมายก็ยอมรับว่า บุคคลในวัยนี้ยังมีความคิดอ่านไม่เท่าผู้ใหญ่จริง จึงไม่ควรลงโทษเท่าผู้ใหญ่กระทำความผิด โดยให้ดุลพินิจแก่ศาลที่จะพิจารณาว่า สมควรจะลดหย่อนผ่อนโทษให้หรือไม่ ถ้าศาลพิจารณาสิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับผู้กระทำความผิด เช่น ความคิดอ่าน การศึกษาอบรม ตลอดจนพฤติการณ์ในการกระทำความผิด เช่น กระทำความผิดเพราะถูกผู้ใหญ่เกลี้ยกล่อม หากศาลเห็นสมควรลดหย่อนผ่อนโทษให้ก็มีอำนาจลดมาตราส่วนโทษได้ 1 ใน 3 หรือกึ่งหนึ่งการลดมาตราส่วนโทษ คือ การลดอัตราโทษขั้นสูงและโทษขั้นต่ำลง 1 ใน 3  หรือกึ่งหนึ่งแล้ว จึงลงโทษระหว่างนั้น แต่ถ้ามีอัตราโทษขั้นสูงอย่างเดียวก็ลดเฉพาะอัตราโทษขั้นสูงนั้น แล้วจึงลงโทษจากอัตราที่ลดแล้วนั้น
                กรณีตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2516 จำเลยอายุ 19 ปี ยอมมีความรู้สึกผิดชอบน้อย ได้กระทำความผิดโดยเข้าใจว่าผู้ตายข่มเหงน้ำใจตน ศาลเห็นสมควรลดมาตราส่วนโทษลง 1 ใน 3

สรุปสาระสำคัญ
                    1. กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่ว่าด้วยความผิดและโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิด
                    2. ความผิดทางอาญา คือ การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศ
                    3. การกระทำความผิดอาญาออกเป็น 2 ลักษณะ คือ  ความผิดต่อแผ่นดิน และความผิดอันยอมความกันได้
                    4. ลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้ง หรือเป็นกฎหมายที่ไม่มีผลย้อนหลัง
                    5. โทษทางอาญา มี 5 ชนิด
                                1. ประหารชีวิต 2. จำคุก
                                3. กักขัง 4. ปรับ
                                5. ริบทรัพย์สิน
                    6. กระทำโดยเจตนา คือ การกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
                    7. กระทำโดยไม่เจตนา คือ ผู้กระทำไม่ได้ประสงค์ต่อผล หรือไม่อาจเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้
                    8. การกระทำโดยประมาท คือ การกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้น จะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านี้ได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
                    9. กฎหมายได้แบ่งการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนออกเป็น 4 ช่วงอายุ คือ
                            1) เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี
                            2) เด็กอายุกว่า 7 ปี แต่ยังไม่เกิน 14 ปี
                            3) เยาวชนอายุเกินกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี
                            4) เยาวชนอายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี

วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

ศาลยุติธรรมสามชั้น คืออะไร

พระบิดาแห่งกฎหมายไทย

กฎหมายแรงงาน

กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน หมายถึง กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการใช้แรงงานและการจ่ายค่าตอบแทนในการทำงาน ทั้งนี้ เพื่อให้ลูกจ้างทำงานด้านความปลอดภัย มีสุขภาพอนามัยดี ได้รับค่าตอบแทนและสวัสดิการตามสมควร

กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ เป็นกฎหมายที่กำหนดแนวทางปฏิบัติต่อกันระหว่างบุคคลสองฝ่าย คือ ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง เพื่อให้บุคคลทั้งสองฝ่ายได้มีความเข้าใจอันดีต่อกัน สามารถตกลงในเรื่องสิทธิหน้าที่ และผลประโยชน์ในการทำงานร่วมกันได้รวมทั้งกำหนดวิธีการระงับข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทแรงงานที่เกิดขึ้น
ให้ยุติลงโดยรวดเร็ว ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสงบสุข ในสถานประกอบกิจการ ซึ่งจะส่งผลถึงเศรษฐกิจและความมั่นคง
ของประเทศ

กฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กฎหมายดังกล่าวคือ พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
พ.ศ. 2534 เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและแรงงานสัมพันธ์ในภาครัฐวิสาหกิจ
เป็นการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ซึ่งไม่น้อยกว่ามาตรฐานขั้นต่ำตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

กฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน เป็นการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำให้สถานประกอบกิจการถือปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยที่ดีปราศจากอุบัติเหตุ และโรคเนื่องจากการทำงาน

"ประกาศหรือคำสั่งของกระทรวงแรงงาน และประกาศหรือคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงานที่ออกตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2515 ให้ยังคงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ทั้งนี้จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ระเบียบและประกาศ ที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ"

"พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มีสาระสำคัญดังนี้"



1. วันทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 6 วัน

2 . กำหนดเวลาทำงานปกติในทุกประเภทไม่เกิน 8 ชั่วโมง / วัน หรือไม่เกิน 48 ชั่วโมง / สัปดาห์
ถ้าเป็นการทำงานอันตรายต่อสุขภาพตามกฏกระทรวง กำหนดให้ทำงานไม่เกิน 7 ชั่วโมง / วัน หรือไม่เกิน 42 ชั่วโมง/สัปดาห์

3 . กำหนดเวลาพักระหว่างวันทำงาน ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง อาจตกลงพักน้อยกว่าครั้งละ 1 ชั่วโมงก็ได้ แต่รวมกันไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง / วัน

4 . กำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 วัน ห่างกันไม่เกิน 6 วัน และวันหยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน รวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย สำหรับวันหยุดผักผ่อนประจำปี ไม่น้อยกว่า 6 วันทำการ เมื่อลูกจ้างทำงานครบ 1 ปี


1. อัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัดภูเก็ตคือ 181 บาท/วัน

2. ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุด
ทำเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ได้รับค่าล่วงเวลา 1.5 เท่าของอัตราค่าจ้าง/ชั่วโมง
ทำงานในวันหยุดในเวลาปกติ / สำหรับวันหยุดที่ได้ค่าจ้างจะได้รับเพิ่มอีก 1 เท่า ในวันหยุดที่ไม่ได้รับค่าจ้างจะได้รับเพิ่มเป็น 2 เท่าของค่าจ้างในวันทำงาน
ทำงานล่วงเวลาในวันหยุด ได้รับค่าล่วงเวลาในวันหยุดไม่น้อยกว่า 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง ในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ
3. ลูกจ้างทั้งชายและหญิง มีสิทธิได้รับค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เท่าเทียมกันในงานที่มีลักษณะและคุณภาพอย่างเดียวกันและปริมาณเท่ากัน

1. ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง แต่ได้รับค่าจ้างไม่เกิน 30 วันทำงาน

2. ลาคลอดได้ไม่เกิน 90 วัน โดยได้รับค่าจ้าง 45 วัน

3. ลาเพื่อรับราชการทหาร ได้ไม่เกินปีละ 60 วัน โดยได้รับค่าจ้าง

4. ลาเพื่อทำหมันได้รับค่าจ้างตลอดเวลาที่แพทย์วินิจฉัยให้หยุด

5. ลากิจธุระ อันจำเป็น แล้วแต่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน

6. ลาเพื่อเข้ารับการอบรม

วันหยุด

1. วันหยุดประจำสัปดาห์ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน สำหรับลูกจ้างรายวันไม่ได้รับค่าจ้าง

2. วันหยุดตามประเพณี อย่างน้อยปีละ 13 วัน (รวมวันแรงงานแห่งชาติแล้ว) โดยได้รับค่าจ้าง

3. วันหยุดพักผ่อนประจำปี ปีละ 6 วันทำงาน โดยได้รับค่าจ้าง ซึ่งนายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าว



1. ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย หากนายจ้างเลิกจ้าง โดยลูกจ้างไม่มีความผิดดังนี้

1) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วันแต่ไม่ครบ 1 ปี มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
2) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปีแต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
3) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปี มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
4) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6 ปีแต่ไม่ครบ 10 ปี มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน
5) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน

2. กรณีย้ายสถานประกอบการ นายจ้างต้องแจ้งให้แก่ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่เกิน 30 วัน หากลูกจ้างไม่ต้องการไปทำงานด้วย ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญา โดยได้รับค่าชดเชยพิเศษ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ

3. ค่าชดเชยพิเศษ ในกรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุปรับปรุงหน่วยงานกระบวนการผลิต
การจำหน่ายหรือการบริการ อันเนื่องมาจากการนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือเทคโนโลยี
หากนายจ้าง ไม่แจ้งล่วงหน้าหรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่าระยะเวลา 60 วันนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษดังนี้

1) ลูกจ้างจะได้รับค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 60 วัน
2) ลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชยตามกฏหมาย
3) ลูกจ้างที่มีอายุงาน 6 ปีขึ้นไป มีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษปีละ 15 วัน เมื่อรวมค่าชดเชยทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 360 วัน

นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน
หนังสือเตือนให้มีผลบังคับใช้ได้ไม่เกินหนึ่งปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีสาเหตุอันสมควร
(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่เป็นนักโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ


1. ห้ามใช้แรงงานเด็ก อายุต่ำกว่า 15 ปีทำงานโดยเด็ดขาด

2. ห้ามใช้แรงงานเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ในกิจการบางประเภท และทำงานระหว่างเวลา 22.00 น. - 06.00 น. ทำงานวันหยุดและทำงานล่วงเวลา

3. ห้ามใช้แรงงานเด็กในสถานที่ เต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง และตามที่กำหนดในกฏหมาย

4. ให้ลูกจ้างเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี มีสิทธิลาเพื่อรับการอบรม สัมมนา ที่จัดโดยสถานศึกษา หรือหน่วยงานของรัฐ โดยได้รับค่าจ้างแต่ไม่เกิน 30 วันต่อปี

5. การว่าจ้างแรงงานเด็กต่ำกว่า 18 ปี ต้องแจ้งพนักงานตรวจแรงงานภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่เด็กเข้าทำงาน

1. การใช้แรงงานหญิง ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงทำงานต่อไปนี้
งานเหมืองแร่หรืองานก่อสร้างที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือปล่องในภูเขาเว้นแต่ลักษณะของงาน ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือ ร่างกายของลูกจ้างหญิงนั้น
งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป
งานผลิตหรือขนส่งวัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟ
งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
2. ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงที่มีครรภ์ทำงานในระหว่างเวลา 22.00น.-06.00น. ทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุดหรือทำงานอย่างหนึ่งอย่างใด

3. ห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างหญิงเพราะเหตุมีครรภ์

4. ให้แรงงานหญิงมีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตร ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน

5. ห้ามนายจ้าง หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงานหรือผู้ตรวจงาน ล่วงเกินทางเพศต่อแรงงานหญิง หรือเด็ก

1. ให้นายจ้างหรือสถานประกอบการที่มีลูกจ้างน้อยกว่า 50 คน ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในการทำงาน ระดับพื้นฐาน ระดับหัวหน้างาน และระดับบริหาร เพื่อดูแลความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบการร่วมกับนายจ้าง

2. การกำหนดให้นายจ้างหรือสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คน ขึ้นไป ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงานระดับหัวหน้างาน ระดับบริหาร และระดับวิชาชีพ

3. กำหนดให้สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานประกอบด้วย นายจ้าง ผู้แทนระดบับังคับบัญชา ผู้แทนลูกจ้างระดับปฏิบัติการ และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน โดยมีคณะกรรมการ ตามขนาดของสถานประกอบการ

4. การให้ความคุ้มครองอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับสภาพงานและได้มาตรฐานโดยให้นายจ้างเป็นผู้จัดให้ อาทิ ตามที่กำหนดในกฏกระทรวง ให้นายจ้างต้องจัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยสาวนบุคคลให้ลูกจ้างตามลักษณะของงาน และลูกจ้างต้องสวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าวตลอดเวลาการทำงานโดยบังคับ
กฎหมายเอกเทศสัญญา1
กฎหมายเอกเทศสัญญา1  
               กฎหมายเอกเทศสัญญา1  มีด้วยกัน 3 ลักษณะ  คือลักษณะสัญญาซื้อขาย  ลักษณะแลกเปลี่ยน  และลักษณะการให้
   ลักษณะสัญญาซื้อขาย เริ่มต้นที่มาตรา453  เป็นมาตราแรกซึ่งถือว่าเป็นประตูที่จะเปิดเข้าไปแล้วเข้าไปสู่ประตูของสัญญา ว่าเป็นอย่างไร?    มีอะไรบ้าง? ในสัญญานั้น หน้าที่และความรับผิดแต่ละฝ่ายกฎหมายบัญญัติไว้เช่นไร?และผู้ซื้อและผู้ขายตกลงกันไว้เช่นไร?ขัดต่อกฎหมายหรือไม่อย่างไร? ซึ่งเราต้องวิเคราะห์ดูแล้วจะเห็นว่าสัญญาซื้อขายมีหลายประเภทมาก
ถัดจากมาตรา 453 ก็จะมีมาตราต่างๆ เช่น  มาตรา 456, มาตรา 458 มาตรา 459,  มาตรา 460  สัญญาซื้อขายถูกแบ่งออกเป็นหลายประเภท ซึ่งกฎหมายได้จัดแบ่งเป็นประเภท
                ลักษณะสัญญาซื้อขาย คือสัญญาที่ผู้ขายจะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย       
      วิเคราะห์สัญญาซื้อขายจะเห็นว่ากฎหมายบัญญัติเรื่องผู้ขาย และหน้าที่ของผู้ขาย ที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่บุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ซื้อ
          การโอนกรรมสิทธิ์ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยสิทธิ  การถ่ายเท โอนความเป็นเจ้าของ
       ดังนั้นผู้ที่จะโอนกรรมสิทธิ์ได้ต้องเป็นเจ้าของในทรัพย์นั้นก่อน หรือมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นก่อน
        ในกรณีนี้มาตรา 453 จึงบัญญัติหลักเฉพาะเลยว่าผู้ขาย มีหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์ไปยังผู้ซื้อ
          และผู้ซื้อจะต้องใช้ราคาให้แก่ผู้ขาย
          วิเคราะห์ตรงคำว่า  ”ใช้ราคา” ราคาของทรัพย์สินนั้นมีค่าในตัวเอง  และเป็นข้อตกลงระหว่างคู่สัญญากันเอง
            ราคา ในตัวบท ถึงแม้ไม่ได้ระบุว่าเป็นสิ่งใด  ผู้ซื้อต้องการกรรมสิทธิ์ และผู้ขายต้องการได้ค่าตอบแทนดังนั้นความหมายของราคา จึงตีความว่าเป็น   ”เงิน”  เท่านั้น จะเป็นทรัพย์สินอื่นไม่ได้ เพราะมันจะกลายเป็นลักษณะ ของการแลกเปลี่ยนไป
“ เงิน ” จะเป็นเงินสด หรือเครดิตก็ได้
·         ลักษณะของสัญญาซื้อขาย  วัตถุประสงค์หลัก คือ การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ถ้าเปรียบเทียบกับสัญญาอื่น  เข่นสัญญาเช่า ในมาตรา 537 จะไม่มีคำว่า     ” การโอนกรรมสิทธิ์ ”
ถ้าเราสังเกต กฎหมายเอกเทศสัญญา 1 ทั้งสามลักษณะ  จะมีการโอนกรรมสิทธิ์ทั้งนั้นเลยครับ
ใครเป็นผู้โอนกรรมสิทธิ์  ก็คือผู้ขาย
ผู้รับโอนก็คือผู้ซื้อ
·         สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาที่มีค่าตอบแทน และเป็นสัญญาที่เราเรียกกันว่าสัญญาต่างตอบแทน
คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต่างมีประโยชน์ซึ่งกันและกัน     (ต่างมีหน้าที่ชำระหนี้ซึ่งกันและกัน)
การตอบแทนซึ่งกันและกัน หน้าที่ของผู้ซื้อและผู้ขาย
กรณีของผู้ขาย  ผู้ขายมีหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์แก่ผู้ซื้อ
               ผู้ซื้อ  ผู้ซื้อมีหน้าที่ต้องใช้ราคาแก่ผู้ขาย
               ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน (หรือมีหน้าที่ชำระหนี้ซึ่งกันและกัน)
                ถ้าผู้ขายเป็นลูกหนี้ ต้องส่งมอบทรัพย์สิน
                ถ้าผู้ขายเป็นเจ้าหนี้ต้องได้รับการชำระราคาแห่งทรัพย์ที่ขายไป
                ถ้าผู้ซื้อเป็นเจ้าหนี้ ต้องได้รับการส่งมอบทรัพย์สิน
ถ้าผู้ซื้อเป็นลูกหนี้ ก็ต้องชำระราคาให้แก่ผู้ขาย
              นอกจากนี้แล้วผู้ซื้อและผู้ขายจะบอกเลิกสัญญา หรือไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ไม่ได้  (การร่างสัญญาที่ตกลงกันไว้ ถ้าผู้ซื้อ หรือผู้ขายผิดสัญญา  การเลิกสัญญา เป็นเรื่องของการตกลงกันระหว่าผู้ซื้อ กับผู้ขายที่เป็นคู่สัญญา  ถ้าคู่สัญญาไม่ทำข้อตกลงกันไว้ ก็จะมีกฎหมายบัญญัติ เรื่องการเลิกสัญญาไว้)
            ลักษณะของสัญญาซื้อขายเป็นนิติกรรมหลายฝ่าย ( ทบทวนกันหน่อยครับ: นิติกรรมมีหลายประเภท เช่น  นิติกรรม ฝ่ายเดียว  นิติหรรมสองฝ่าย หลายฝ่าย นิติกรรมที่มีค่าตอบแทน  หรือไม่มีค่าตอบแทน หรือ ต่างตอบแทน ฯลฯ)
จากตัวบท ในมาตรา453 จะบัญญัติไว้เลยว่า ผู้ซื้อฝ่ายหนึ่ง ผู้ขายอีกฝ่ายหนึ่ง  และมีการแสดงเจตนาซึ่งกันและกัน
            ดังนั้นจะเห็นว่าสัญญาซื้อขายเป็นนิติกรรมหลายฝ่าย หรือสองฝ่าย
            กรณีที่จะดูว่าสัญญาซื้อขาย เกิดขึ้นหรือยัง  ต้องดูว่าคู่สัญญาได้แสดงเจตนาที่จะผูกพันกันหรือไม่อย่างไร?
            ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขาดเจตนา  หรือทั้งสองฝ่ายขาดเจตนาสัญญาก็ไม่เกิด  หรือไม่มีความผูกพันนั่นเอง
            ก็มีหลายสาเหตุนะครับ  นักศึกษาที่ได้ศึกษาไปแล้วว่า สาเหตุที่ทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะ  หรือโมฆียะ  ถ้าเป็นสัญญาซื้อขายที่ผู้ซื้อตกลงซื้อแล้ว แต่ผู้ซื้อถูกกลฉ้อฉล  หรือสำคัญผิดในคุณสมบัติทรัพย์สินนั้นก็ดี  สัญญาซื้อขายก็เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้  เช่นตกเป็น  “โมฆียะ “   ก็ต้องบอกล้างให้แล้วสัญญานั้นกลายเป็น  “โมฆะ”
**** สัญญาซื้อขาย คู่สัญญาต้องแสดงเจตนาอย่างสมบูรณ์
นอกจากนี้  เรื่อง  ”แบบของนิติกรรม” มาตราที่บัญญัติเรื่องแบบของนิติกรรม คือ มาตรา 456 วรรค แรก นั่นเอง
ซึ่งได้บัญญัติเรื่องแบบ ของการซื้อขาย อสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ นั่นเอง
สัญญาซื้อขายถูกแบ่งออกเป็นหลายประเภท ซึ่งกฎหมายได้จัดแบ่งเป็นประเภท
        ประเภทแรก คือสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด เป็นอย่างไร มาตรา 458 เป็นสัญญาซึ่งกรรมสิทธิ์ได้โอนไปยังผู้ซื้อ ตั้งแต่ขณะได้ตกลงทำสัญญาซื้อขายกัน  (คู่สัญญาตกลงเสร็จสิ้นแล้ว )ไม่ต้องทำตามแบบ ( แบบที่กฎหมายบัญญัติไว้ ในรูปสัญญาซื้อขาย ก็คือทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  ที่บัญญัติไว้ในมาตรา  456)
             สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด   แบ่งย่อยออกเป็น 2  กรณี    คือ สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดในอสังหาริมทรัพย์  หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ    (บัญญัติไว้ตาม 456 ผู้ขายได้โอนกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ เช่นนาย  ก เป็นเจ้าของที่ดินแปลหนึ่ง ตกลงจะขายที่ดินแปลงนี้ให้กับนาย  ข.  ทั้งนาย  ก และนาย ข  ได้ตกลงกันว่าจะได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ สิ้นปีนี้    ดังนั้นในระหว่างที่ยังไม่ถึงสิ้นปีที่จะมีการโอนกรรมสิทธิ์กัน เรายังไม่ถือว่าเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด   จะเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดก็ต่อเมื่อสิ้นปี  และผู้ขายคือ นาย  ก  มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น ให้แก่นาย  ข แล้ว  นั่นคือความสมบูรณ์ของสัญญาซื้อขาย แล้วกลายเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดนั้นเอง
                  กรณีที่เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดมีการ หลีกเลี่ยงกฎหมาย   คือไม่ได้ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้    อาจจะเป็นผู้ซื้อ หรือผู้ขายไม่มีเจตนาทำตามกฎหมาย ในเรื่องของ ‘  แบบ’   แม้จะเห็นว่าการซื้อขายนั้นจะเป็นโมฆะก็จริง   เราพูดถึงตัวสัญญา หรือสัญญานั้นเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว   เป็นโมฆะ  คือ ไม่ผูกพัน ผู้ที่ไม่รู้กฎหมายก็จะไม่รู้ไม่เข้าใจ    ซึ่งตามความเห็นของอาจารย์คิดว่า   ไม่น่าตีความว่าเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
             มาดูแต่ละกรณีนะครับ   มีการซื้อขาย  แต่ไม่มีการจดทะเบียนโอนกัน   (สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด)
                แต่กรณีที่กฎหมายกำหนด การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำตามแบบ  ก็ต้องทำตามที่กฎหมายกำหนด ในมาตรา456   ถ้าไม่ทำตามกฎหมายกำหนด ก็มีผลเป็นโมฆะไปเลย
          ความเป็นโมฆะ  คือ ไม่มีผลผูกพันตามกฎหมายคู่สัญญา แต่ละฝ่ายจะถือว่าไม่ได้ทำสัญญาตั้งแต่แรกเลย
( ดังนั้นเมื่อผลตามกฎหมายดังกล่าว  จะเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดได้อย่างไร?)
อีกตัวอย่าง หนึ่งนะครับ
นักศึกษาจะซื้อนาฬิกาของอาจารย์ อาจารย์ก็ยินดีขายให้ในราคา 1,000บาท เมื่ออาจารย์ตกลงจะขายให้กับนักศึกษาแล้ว และนักศึกษาตกลงจะซื้อแล้ว  (นี่คือความสมบูรณ์ของสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดแล้ว กรรมสิทธิ์ตกไปยังนักศึกษาแล้ว  คือการโอนกรรมสิทธิ์)
****** นักศึกษาอย่าไปวิเคราะห์ตรง การส่งมอบ , ใช้ราคา เพราะมาตรา 458 บัญญัติว่า กรรมสิทธิ์โอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่คู่สัญญาได้ทำการตกลงซื้อขายกัน (เพียงแต่อาจารย์ต้องถอดนาฬิกาให้นักศึกษาไปเท่านั้น)
                อีกประเภทหนึ่งก็คือสัญญาซื้อขายแบบมีเงื่อนไข  ‘ในการโอนกรรมสิทธิ์ เท่านั้น’ ไม่ใช่เงื่อนไขอย่างอื่นนะครับ
             ในมาตรา 459 ซึ่งได้บัญญัติไว้ จริงๆแล้วก็เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอีกประการหนึ่ง แต่กรรมสิทธิ์ ยังไม่โอนไปจนกว่าให้เป็นไปตามเงื่อนไขนั้น
             เงื่อนไขตามมาตรา 183 เป็นอย่างไร   ลองทบทวนนะครับ:  เงื่อนไขก็มีเงื่อนไขบังคับก่อน กับเงื่อนไขบังคับหลัง
หลักเกณฑ์ของเงื่อนไขคืออะไร?
               หลักเกณฑ์ของเงื่อนไขก็คือ เหตุการณ์ที่คู่สัญญาตกลงกัน  เป็นเหตุการณ์ที่จะเกิดในอนาคตแล้วนิติกรรมจะมี ผล จะสิ้นสุด ไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขยังคับก่อนหรือบังคับหลัง
แต่เงื่อนไขนี้ เป็นเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ ไม่ใช่เงื่อนอื่นๆนะครับ ดังนั้นเราจะเอาเงื่อนไขบังคับก่อนบังคับหลังมาใช้ ไม่ได้ ต้องนึกถึงเรื่องเงื่อนไขการโอนกรรมสิทธิ์นะครับ  เช่น อาจารย์ต้องการขายรถยนต์ให้นักศึกษา  และอาจารย์จะโอนกรรมสิทธิ์ให้ก็ต่อเมื่อนักศึกษาชำระราคาครบแล้ว  (เงื่อนไขในที่นี้ ก็คือการโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่อาจารย์จะโอนให้นักศึกษา   แต่นักศึกษาต้องชำระราคารถยนต์ให้อาจารย์ครบแล้ว)
ถ้านักศึกษาชำระราคารถยนต์ที่ซื้อจากอาจารย์ครบแล้ว อาจารย์จะส่งมอบ  อย่างนี้ไม่เรียกว่ามีเงื่อนไขนะครับ (อย่าไปตีความหมายของสัญญา จะซื้อจะขายนะครับ มันเป็นคนละกรณีนะครับ)
ข้อสังเกตของมาตรา 459  เงื่อนไข ก็ดี เงื่อนเวลาก็ดีที่จะเป็นสัญญาซื้อขายก็ดี ต้องเป็นเงื่อนไขของการโอนกรรมสิทธิ์ หรือเงื่อนเวลาต้องโอนกรรมสิทธิ์  เนื่องจากมีการประวิงเวลาหรือประวิงการโอนกรรมสิทธิ์ให้มันช้า
ดังนั้นการมีเงื่อนไข จะมีในสังหาริมทรัพย์ธรรมดา  เพราะถ้าเป็น อสังหาริมทรัพย์ หรือ สังหาริมทรัพย์พิเศษต้องทำตาม มาตรา 456 วรรคแรกอยู่แล้ว กรรมสิทธิ์จะโอนก็ต่อเมื่อ ทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ประเภทของทรัพย์สินที่ซื้อขาย    สัญญาจะซื้อจะขายมีเฉพาะการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพย์พิเศษ  เท่านั้นและต้องทำตามแบบมาตรา 456 วรรคแรก  (แบบของสัญญาซื้อขาย) เป็นบ่อเกิดแห่งสัญญาจะซื้อจะขายอย่างหนึ่ง เพราะสัญญาจะซื้อจะขาย ก็คือ คู่สัญญาตกลงกันในชั้นแรกว่าจะทำสัญญากัน  แต่กรรมสิทธิ์จะโอนไป นั้น คู่สัญญาต้องไปทำตามแบบในภายหลัง
 ทำตามแบบ ก็คือ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา 456 วรรคแรก ซึ่งถ้าทำแล้ว กรรมสิทธิ์ก็จะโอนไปยังผู้ซื้อแล้ว นี่คือสัญญาจะซื้อจะขาย(เรียกอีกอย่างว่า สัญญาจะซื้อขาย)ผู้ซื้อ ผู้ขายตกลงทำสัญญาซื้อขายกันก่อน เพราะเป็นหลักฐานหนึ่งซึ่งนำไปสู่สัญญาซื้อขายสมบูรณ์ ในกรณีมีการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ ไปยังผู้ซื้อนั่นเอง
ดังนั้นสัญญาจะซื้อจะขาย กรรมสิทธิ์ไมโอนไปทันทีเหมือนสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
สรุปสาระสำคัญของสัญญาจะซื้อจะขาย
1.       มีการตกลงกันระหว่าผู้ซื้อและผู้ขาย
2.       กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อในขณะนั้นเพราะไม่ได้ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดตามมาตรา456 วรรคแรก
3.       ผู้ขายมีสัญญากับผู้ซื้อว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ให้ในภายหลัง ไม่ใช่ขณะทำสัญญา
4.       ผู้จะขายไม่จำเป็นต้องมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายก็ได้ แต่การโอนกรรมสิทธิ์ผู้ขายต้องมีกรรมสิทธิ์(ช่วงจดทะเบียนโอนผู้ขายต้องเป็นเจ้าของหรือมีกรรมสิทธิ์  มิฉะนั้นแล้วจะโอนให้กับผู้ซื้อไม่ได้  แล้วก็จะเข้าบทบัญญัติที่ว่า ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน  ตราบใดที่ผู้โอนไม่มีกรรมสิทธิ์  ผู้รับโอนก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์เช่นกัน)
5 สัญญาจะซื้อจะขายมีได้เฉพาะอสังหาริมทรัพย์ หรือ สังหาริมทรัพย์พิเศษเท่านั้นและต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดนะครับ



https://sites.google.com/site/sukchusri/kdhmay-phaeng-laea-phanichy/kdhmay-xekthes-sayya1

กฎหมายจราจรเบื้องต้น

ยาเสพติดที่ผิดกฎหมาย









        ประเภทของยาเสพติด
ปัจจุบัน สิ่งเสพติดหรือยาเสพติดให้โทษมีหลายประเภท อาจจำแนกได้หลายเกณฑ์ นอกจากแบ่งตามแหล่งที่มาแล้ว ยังแบ่งตามการออกฤทธิ์และแบ่งตามกำกฎหมายดังนี้
ก.จำแนกตามสิ่งเสพติดที่มา
1. ประเภทที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน กระท่อม กัญชา
2. ประเภทที่ได้จากการสังเคราะห์ เช่น เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาม้า แอมเฟตามีน สารระเหย
ข.จำแนกสิ่งเสพติดตามกฎหมาย
1. ประเภทถูกกฎหมาย เช่น ยาแก้ไอน้ำดำ บุหรี่ เหล้า กาแฟ ฯลฯ
2. ประเภทผิดกฎหมาย เช่น มอร์ฟีน ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา กระท่อม แอมเฟตามีน ฯลฯ
ค.การจำแนกสิ่งเสพติดตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง
1.ประเภทกดประสาท เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยากล่อมประสาท ยาระงับประทสาท ยานอนหลับ สารระเหย เครื่องดื่มมึนเมา เช่นเหล้า เบียร์ ฯ
2. ประเภทกระตุ้นประสาท เช่น แอมเฟตามีน ยาม้า ใบกระท่อม บุหรี่ กาแฟ โคคาอีน
3. ประเภทหลอนประสาท เช่น แอล เอส ดี,เอส ที พี,น้ำมันระเหย
4. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน อาจกด กระตุ้น หรือหลอนประสาทผสมรวมกันได้แก่ กัญชา




         สาเหตุที่ทำให้เกิดยาเสพติด
1. ติดเพราะฤทธิ์ของยา เมื่อร่างกายมนุษย์ได้รับยาเสพติดเข้าไปฤทธิ์ของยาเสพติดจะทำให้ระบบต่างๆ ของร่างกายเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งถ้าการใช้ยาไม่บ่อยหรือนานครั้ง ไม่ค่ยมีผลต่อร่างกาย แต่ถ้าใช้ติดต่อเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งจะทำให้มีผลต่อร่างกายและจิตใจลักษณะมี 4 ประการ คือ
 1.1 มีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะเสพยาหรือสารนั้นอีกต่อไปเรื่อๆ
 1.2 มีความโน้มเอียงที่จะเพิ่มปริมาณของยาเสพติดขึ้นทุดขณะ
 1.3 ถ้าถึงเวลาที่เกิดความต้องการแล้วไม่ได้เสพ จะเกิดอาการอยากยา หรืออาการขาดยา เช่น หาว อาจียน น้ำตาน้ำมูกไหล ทุรนทุราย คลุ้มคลั้ง โมโห ขาสติ
 1.4 ยาที่เสพนั้นจะไปทำลายสุขภาพของผู้เสพทั้งร่างกาย ทำให้ซูบผอม มีโรคแทรกซ้อน และทางจิตใจ เกิดอาการทางประสาท จิตใจไม่ปกติ
 2. ติดยาเสพติดเพราะสิ่งแวดล้อม
 2.1 สภาพแวดล้อมภายนอกของบ้านที่อยู่อาศัย เต้มไปด้วยแหล่งค้ายาเสพติด เช่น ใกล้บรเวณศูนย์การค้า หน้าโรงหนัง ซึ่งเป็นการซื้อยาเสพติดทุกรูปแบบ
 2.2 สิ่งแวดล้อมภายในบ้านขาดความอบอุ่น รวมไปถึงปัญหาชีวิตคนในครอบครัวและฐานะทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมจะทำให้เด้กหันไปพึ่งยาเสพติด การขาดความเอาใจใส่ดูแลจากพ่อแม่ และขาดการยอมรับจากครอบครัว เด็กจะหันไปคบเพื่อนร่อมกลุ่มเพื่อต้องการความอบอุ่น สภาพของกลุ่มเพื่อน สภาพของเพื่อนบ้านใกล้เคียง
 2.3 สิ่งแวดล้อมทางโรงเรียน เด็กมีปัญหาทางการเรียน เนื่องจากเรียนไม่ทันเพื่อน เบื่อครู เบื่อโรงเรียน ทำให้หนีโรงเรียนไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ตนพอใจ เป็นเหตุให้ตกเป็นเหยื่อของการติดยาเซบติด
3. ติดเพราะความผิดปกติทางร่างกายและจิตใจ
ใน สังคมที่วุ่นวายสับสน เปลี่ยนแปลงรวดเร้วดังเช่นปัจจุบัน ทำให้จิตใจผิดปกติง่าย หากเป็นบุคคลที่มีบุคลิกภาพอ่อนแอในทุกด้าน ทั้งอารมณ์และสติปัญญา รวมทั้งร่างกายไม่สมบูรณ์แข็งแรงก็จะหาสิ่งยึดเหนี่ยว จะตกเป้นทาสยาเสพติดได้ง่าย ผู้ที่มีอารมณ์วู่วามไม่ค่อยยั้งคิดจะหันเข้าหายาเสพติดเพื่อระงับอารมณ์ วู่วามของตน เนื่องจากยาเสพติดมีคุณสมบัติในการกดประสาทและกระตุ้นประสาท ผู้มีจิตใจมั่นคง ขาดความมั่นใจ มีแนวโน้มในการใช้ยาเพื่อบรรเทาความวิตกกังวลของตนให้หมดไปและมีโอกาสติดยา ได้ง่ายกว่าผู้อื่น





       วิธีสังเกตผู้ติดยาหรือสารเสพติด
1. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย สุขภาพทรุดโทรม ผอมซีด ทำงานหนักไม่ไหว ริมฝีปากเขียวคล้ำและแห้ง ร่างกายสกปรกมีกลิ่นเหม็น ชอบใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ใส่แว่นดำเพื่อปกปิด
2. การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ อารมณ์หงุดงิดง่าย พูดจาร้าวขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มั่วสุมกับคนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด สุบบุหรี่จัด มีอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด หน้าตาซึมเศร้า ขาดความเชื่อมั่น จิตใจอ่อนแอ ใช้เงินเปลือง สิ่งของภายในบ้านสูญหายบ่อย
3. แสดงอาการอยากยาเสพติด ตัวสั่น กระตุก ชัก จาม น้ำหมูกไหล ท้องเดิน ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดที่เรียกว่า "ลงแดง" มีไข้ปวดเมื่อยตามร่างกายอย่างรนแรงนอนไม่หลับ ทุรนทุราย
4. อาสัยเทคนิคทางการแพทย์ โดยการเก็บปัสสาวะบุคคลที่สงสัยว่าจะติดยาเสพติดส่งตรวจ ใช้ยาบาง
ชนิดที่สามารถล้างฤทธิ์ของยาเสพติด



       การป้องกันปัญหายาเสพติดแก่ครอบครัวาของตนเอง
1. ช่วย พ่อ แม่ สอดส่องดูแลน้องๆ หรือสมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัวมิให้กระทำ
สิ่งที่ผิด เช่น การคบเพื่อนที่ไม่ดี การมั่วสุมในอบายมุขและสิ่งเสพติด เยาวชนควรทำตัวเป็น  แบบอย่างที่ดีแก ่สมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัวด้วย เช่น การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์  ความมีระเบียบวินัย ความขยันหมั่นเพียร
2. ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว มีความรักใคร่กลมเกลียว
และมีความเข้าใจกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเมื่อมีปัญหา
3. เมื่อมีโอกาสควรบอกกล่าวหรือตักเตือนสมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัว โดยเฉพาะ  น้องๆ  ให้รู้เกี่ยวกับโทษพิษภัยของ ยาเสพติดวิธีการใช้ยาอย่างปลอดภัย
4. ช่วยทำให้ พ่อ แม่ เกิดความสบายใจและภาคภูมิใจด้วยการประพฤติดี ตั้งใจศึกษา
เล่าเรียน แบ่งเบาภาระหน้าที่การงาน ของพ่อ แม่ ภายในบ้าน

 
นิติกรรมและสัญญา

นิติกรรมและสัญญา
1. นิติกรรม คืออะไร 
คือการใดๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ (ป.พ.พ.ม. 149) 
กล่าวโดยย่อ นิติกรรม คือ การกระทำของบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมายและมุ่งต่อผลในกฎหมายที่จะเกิดขึ้นอันได้แก่ การเคลื่อนไหวแห่งสิทธิ มีการก่อสิทธิ เปลี่ยนแปลงสิทธิ โอนสิทธิ สงวนสิทธิและระงับซึ่งสิทธิ เช่น สัญญาซื้อขาย, สัญญากู้เงิน, สัญญาจ้างแรงงาน สัญญาให้และพินัยกรรมเป็นต้น 
การแบ่งแยกประเภทของนิติกรรม 
1.1 นิติกรรมฝ่ายเดียว ได้แก่ นิติกรรมซึ่งเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียวและมีผลตามกฎหมาย ซึ่งบางกรณีก็ทำให้ผู้ทำนิติกรรมเสียสิทธิได้ เช่น การก่อตั้งมูลนิธิ คำมั่นโฆษณาจะให้รางวัล การรับสภาพหนี้ การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้ลูกหนี้ คำมั่นจะซื้อหรือจะขาย การทำพินัยกรรม การบอกกล่าวบังคับจำนอง เป็นต้น 
1.2 นิติกรรมสองฝ่าย (นิติกรรมหลายฝ่าย) ได้แก่ นิติกรรมซึ่งเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปและทุกฝ่ายต้องตกลงยินยอมระหว่างกันกล่าวคือฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาทำเป็นคำเสนอ แล้วอีกฝ่ายหนึ่งแสดงเป็นเจตนาเป็นคำสนอง เมื่อคำเสนอและคำสนองถูกต้องตรงกันจึงเกิดมีนิติกรรมสองฝ่ายขึ้นหรือเรียกกันว่า สัญญา เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญากู้ยืม สัญญาแลกเปลี่ยน สัญญาขายฝาก จำนอง จำนำ เป็นต้น 

2. ความสามารถของบุคคลในการทำนิติกรรมสัญญา 
โดยหลักทั่วไป บุคคลย่อมมีความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา แต่มีข้อยกเว้นคือ บุคคลบางประเภทกฎหมายถือว่าหย่อนความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา เช่น ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ และบุคคลล้มละลาย สำหรับผู้เยาว์จะทำนิติกรรมได้ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม (ป.พ.พ.ม.21) เว้นแต่นิติกรรมที่ได้มาซึ่งสิทธิโดยสิ้นเชิงหรือเพื่อให้หลุดพ้นหน้าที่ หรือการที่ต้องทำเองเฉพาะตัวหรือกิจกรรมที่สมแก่ฐานานุรูป และจำเป็นในการเลี้ยงชีพเหล่านี้ผู้เยาว์ทำด้วยตนเองได้ (ป.พ.พ.ม.22,23,24) ส่วนคนไร้ความสามารถต้องอยู่ในความอนุบาลกิจการใดๆ ของคนไร้ความสามารถผู้อนุบาล ซึ่งแต่งตั้งโดยศาลต้องเป็นผู้ทำเองทั้งสิ้น (ป.พ.พ.ม. 28 วรรคสอง) สำหรับคนเสมือนไร้ความสามารถทำกิจการเองได้ทุกอย่าง เว้นแต่กิจกรรมบางอย่างตาม ป.พ.พ.ม. 34 จะทำได้ต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์เช่น สัญญา ซื้อขายที่ดิน เป็นต้น 
บุคคลล้มละลายจะทำนิติกรรมใดไม่ได้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามคำสั่งศาลเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทน 
2.1 ผู้มีสิทธิในการทำนิติกรรมสัญญา ปกติแล้ว บุคคลทุกคนต่างมีสิทธิในการทำนิติกรรมสัญญา แต่ยังมีบุคคลบางประเภทเป็นผู้หย่อนความสามารถ กฎหมายจึงต้องเข้าดูแลคุ้มครองบุคคลเหล่านี้ไม่ให้ได้รับความเสียหายในการกำหนดเงื่อนไขในการเข้าทำนิติกรรมของผู้นั้น 
2.2 ผู้หย่อนความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา 
(1) ผู้เยาว์ คือบุคคลที่ยังมีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ การทำนิติกรรมสัญญาใดๆของผู้เยาว์ กฎหมายกำหนดให้ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม คือบิดามารดาหรือผู้ปกครองแล้วแต่กรณีเสียก่อน การทำนิติกรรมสัญญาใดที่ปราศจากความยินยอมกฎหมายเรียกว่าเป็นโมฆียะซึ่งอาจถูกบอกล้างภายหลังได้ต่อเมื่ออายุ 20 ปีบริบูรณ์แล้วจึงพ้นจากภาวะเป็นผู้เยาว์และเป็นผู้บรรลุนิติภาวะเป็นผู้เยาว์และเป็นผู้บรรลุนิติภาวะจึงมีความสามารถใช้สิทธิในการทำนิติกรรมสัญญาได้เอง 
แม้จะอายุยังไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ แต่ได้บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรสแล้วก็ย่อมทำนิติกรรมสัญญาได้ดังเช่นผู้บรรลุนิติภาวะทุกประการ (การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว(มาตรา 1448)) 
(2) คนวิกลจริต คือบุคคลที่มีสมองพิการหรือว่าจิตใจไม่ปกติ โดยมีอาการหนักถึงขนาดเสียสติทุกสิ่งทุกอย่าง พูดกันไม่เข้าใจและไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร 
(3) คนไร้ความสามารถ คือ คนวิกลจริตที่ศาลได้มีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถการที่ศาลจะมีคำสั่งให้คนวิกลจริตคนใดเป็นคนไร้ความสามารถนั้น จะต้องมีผู้เสนอเรื่องต่อศาลโดยกฎหมายได้ระบุให้บุคคลดังต่อไปนี้เสนอเรื่อง โดยร้องขอต่อศาลได้ คือสามีหรือภริยาของคนวิกลจริต ผู้สืบสันดานของคนวิกลจริต (ลูก,หลาน,เหลน,ลื้อ) ผู้บุพการีของคนวิกลจริต (บิดา,มารดา,ปู่,ย่า,ตา,ยาย,ทวด) หรือผู้ปกครองหรือผู้พิทักษ์ ผู้ซึ่งปกครองดูแลคนวิกลจริตหรือพนักงานอัยการ (ป.พ.พ. มาตรา 28) เมื่อศาลไต่สวนได้ความว่าวิกลจริตจริงก็จะสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความอนุบาล โดยศาลจะตั้งผู้อนุบาลให้ 
(4) คนเสมือนไร้ความสามารถ คือบุคคลผู้ใดไม่สามารถจะจัดทำการงานของตนเองได้ หรือจัดการไปในทางที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเอง หรือครอบครัว เพราะ 
1. กายพิการหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ 
2. ประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ 
3. ติดสุรายาเมา 
4. มีเหตุอื่นใดทำนองเดียวกันนั้น 
เมื่อบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดดังต่อไปนี้ คือ สามีหรือภริยา ผู้บุพการี หรือผู้สืบสันดาน หรือผู้พิทักษ์หรือผู้ปกครองหรือผู้ซึ่งปกครองดูแลคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาล ศาลจะสั่งให้บุคคลดังกล่าวเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและสั่งให้ผู้นั้นอยู่ในความพิทักษ์ก็ได้ (ป.พ.พ. มาตรา 32) 
(5) ลูกหนี้ที่ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลายตามกฎหมายล้มละลาย เมื่อศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ก็ตกเป็นผู้หย่อนความสามารถ กล่าวคือลูกหนี้จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือกิจการของตนไม่ได้ เว้นแต่จะกระทำได้ตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาล, เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์, ผู้จัดการทรัพย์, หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ 
และเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่มีอำนาจในการจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ และการกระทำการอื่นๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ เช่น การฟ้องร้อง การต่อสู้คดี การประนีประนอม เป็นต้น 
(6) สามีและภริยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกันจึงต้องให้ความยินยอมซึ่งกันและกัน ในการทำสัญญาผูกพันสินสมรส กฎหมายได้วางหลักในเรื่องนี้ไว้ดังนี้ 
1. มาตรา 1476 สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีดังต่อไปนี้ 
(1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนองซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ 
(2) ก่อตั้งหรือกระทำให้สิ้นสุดทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ 
(3) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี 
(4) ให้กู้ยืมเงิน 
(5) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัว เพื่อการกุศล เพื่อการสังคมหรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา 
(6) ประนีประนอมยอมความ 
(7) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย 
(8) นำทรัพย์สินไปเป็นประกันหรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล 
การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้วรรคหนึ่ง สามีหรือภริยาจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง 
2. สามีและภริยาจะจัดการสินสมรสให้แตกต่างไปจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1476 ทั้งหมด หรือบางส่วนได้ก็ต่อเมื่อได้ทำสัญญาก่อนสมรสไว้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1465 และมาตรา 1466 ในกรณีดังกล่าวนี้การจัดการสินสมรสให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในสัญญาก่อนสมรส 
ในกรณีที่สัญญาก่อนสมรสระบุการจัดการสินสมรสไว้แต่เพียงบางส่วนของมาตรา 1476 การจัดการสินสมรสนอกจากที่ระบุไว้ในสัญญาก่อนสมรสให้เป็นไปตามมาตรา 1476 (ป.พ.พ. มาตรา 1476/1) 
3. การใดที่สามีหรือภริยากระทำ ซึ่งต้องได้รับความยินยอมร่วมกันและถ้าการนั้นมีกฎหมายบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือ หรือให้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ความยินยอมนั้นต้องทำเป็นหนังสือ (ป.พ.พ. มาตรา 1476) 
4. การจัดการสินสมรสซึ่งต้องจัดการร่วมกันหรือต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 1476 ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปแต่เพียงฝ่ายเดียวหรือโดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ เว้นแต่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้นแล้ว หรือในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นบุคคลภายนอกได้กระทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน 
การฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนหรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันที่ได้รับนิติกรรมนั้น (ป.พ.พ. มาตรา 1480) 

3. นิติกรรมสัญญาต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่เป็นการพ้นวิสัย และต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน 
การทำนิติกรรมสัญญาใดๆ นอกจาไม่หย่อนความสามารถดังกล่าวในข้อ 2 แล้วจะต้องไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ไม่เป็นการพ้นวิสัย และต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนด้วย (ป.พ.พ. มาตรา 150) ถ้าฝ่าฝืนหลักดังกล่าวนิติกรรมสัญญานั้นก็เป็นโมฆะ กล่าวคือใช้ไม่ได้ไร้ผลบังคับโดยสิ้นเชิง 
ที่ว่าเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายจะต้องเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน นิติกรรมสัญญานั้นจึงจะเป็นโมฆะ 
แต่ถ้านิติกรรมสัญญาเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายที่มิใช่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแล้วก็ไม่ทำให้นิติกรรมสัญญานั้นเป็นโมฆะ ข้อตกลงนั้นใช้บังคับได้ เช่น ป.พ.พ.ม 733 บัญญัติไว้ว่า “ถ้าเอาทรัพย์จำนองหลุด และราคาทรัพย์สินนั้นมีประมาณต่ำกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่ก็ดี หรือถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้ได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่นั้นก็ดี เงินยังขาดจำนวนอยู่เท่าใดลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในเงินนั้น” หากคู่สัญญา ตกลงกันว่า ถ้าเอาทรัพย์สินที่จำนองออกขายทอดตลาดแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ลูกหนี้ยังต้องรับผิดในหนี้ที่เหลืออยู่ ข้อตกลงดังกล่าวใช้บังคับได้เพราะศาลฎีกาถือว่า ป.พ.พ.ม 733 มิใช่กฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย 
ตัวอย่างที่ 1 ทำสัญญาขยายอายุความฟ้องร้องออกไปเกินกว่าที่กฎหมายกำนหดไว้ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะเพราะขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 193/11 
ตัวอย่างที่ 2 ทำสัญญาจ้างให้คนเหาะหรือให้กระโดดข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ข้อตกลงดังกล่าวเป็นโมฆะ เพราะเป็นการพ้นวิสัย 
ตัวอย่างที่ 3 ทำสัญญาจ้างให้มือปืนไปยิงคน ข้อตกลงเป็นโมฆะ เพราะขัดต่อกฎหมายและความสงบเรียบร้อย 
ตัวอย่างที่ 4 ทำสัญญาจ้างให้ไปทำชู้กับภรรยาของผู้อื่นๆ ข้อตกลงเป็นโมฆะ เพราะขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน 

4. นิติกรรมสัญญาต้องทำตามแบบ 
ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติบังคับให้นิติกรรมสัญญาบางประเภทต้องทำตามแบบ ถ้าฝ่าฝืนไม่ทำตามแบบ การนั้นเป็นโมฆะ (ป.พ.พ. มาตรา 152) 
อุทาหรณ์ 1 สัญญาจำนองซึ่งมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้นเป็นโมฆะ (ป.พ.พ.ม.714) 
อุทาหรณ์ 2 ซื้อขายที่ดินโดยมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่การซื้อขายนั้นเป็นโมฆะ (ป.พ.พ.ม 456) 
4.1 นิติกรรมสัญญาที่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน มีดังนี้ 
(1) การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เช่น ที่ดิน บ้าน ซึ่งหมายถึงการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด รวมทั้งเรือกำปั่น เรือที่มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป แพและสัตว์พาหนะ ซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ 6 อย่าง (ป.พ.พ.ม. 456) 
ถ้าทำสัญญาจะซื้อขายทรัพย์ดังกล่าวใน ป.พ.พ.ม. 456 จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิด หรือวางประจำหรือชำระหนี้บางส่วนซึ่งจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ 
(2) การแลกเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษดังกล่าวในข้อ 1 
(3) การให้ทรัพย์สินดังกล่าวในข้อ 1 
(4) การขายฝากอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์พิเศษดังกล่าวในข้อ 1 
(5) การเช่าอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีกำหนดเกินกว่าสามปี หรือกำหนดตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าต้องทำเป็นหนังสือหรือจดทะเบียนถ้าไม่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การเช่านั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้เพียงสามปี (ป.พ.พ. 538) 
(6) สัญญาจำนองต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (ป.พ.พ.714) นิติกรรมสัญญาดังกล่าวใน (1) (2) (3) (4) และ (6) ถ้าไม่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็เป็นโมฆะ 
4.2 นิติกรรมสัญญาที่ต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือมีดังนี้ 
(1) การเช่าอสังหาริมทรัพย์ เช่น เช่าที่ดิน หรือบ้าน ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ (ป.พ.พ.ม. 538) หลักฐานที่เป็นหนังสือ เช่น จดหมายที่ผู้ให้เช่ามีไปถึงผู้เช่าตอบตกลงให้เช่าที่ดินหรือบ้านได้เป็นต้น 
(2) สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ ถ้าไม่ทำก็เป็นโมฆะ (ป.พ.พ.ม.572) 
(3) การกู้ยืมเงินเกินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไปนั้น ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืม จึงจะเป็นฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ และการนำสืบการใช้เงินในกรณีการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือจะนำสืบได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือผู้ให้ยืมมาแสดง หรือเอกสารการกู้ยืมได้ถูกเวนคืนหรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารการกู้ยืมแล้ว (ป.พ.พ.ม.653) 
อนึ่ง การกู้ยืมเงินนั้นผู้กู้พึงระวังมิให้เจ้าหนี้โกงโดยเติมตัวเลขลงในช่องจำนวนเงินที่กู้ ทั้งนี้โดยจะต้องขีดหน้าและหลังด้วยตัวเลขและวงเล็บจำนวนเงินด้วยตัวอักษรไว้ให้ชัดเจน 
(4) สัญญาค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกัน จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ (ป.พ.พ.ม.680) 
(5) กิจกรรมใดที่กฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นก็ต้องทำเป็นหนังสือ เช่น ตั้งตัวแทนไปซื้อขายที่ดิน ดังนี้ต้องทำหนังสือมอบอำนาจ 
กิจการที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการนั้นก็ต้องมีหลักฐานเป็นตัวหนังสือด้วย เช่น การตั้งตัวแทนไปกู้ยืมเงินเกินห้าสิบบาทขึ้นไป ก็ต้องมีหลักฐานการตั้งตัวแทนเป็นหนังสือ (ป.พ.พ.ม. 789) 
(6) สัญญาประนีประนอมยอมความจะต้องมีหลักฐานลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ (ป.พ.พ.ม.851)
http://www.siamjurist.com/forums/1896.html