ยินดีต้อนรับ

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พระบิดาแห่งกฎหม


     พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงมีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงเป็น พระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจองมารดาตลับ ทรงประสูตเมื่อ วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ .2417
เมื่อยังทรงพระเยาว์ ได้ทรงศึกษาวิชาภาษาไทย ในสำนัก ของพระยาศรีสุนทรโวหาร ( น้อย อาจารยางกูร ) และพระยาโอวาทวรกิจ ต่อมา ทรงศึกษาต่อที่ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ และได้ทรงศึกษา ชั้นมัธยม ที่ประเทศอังกฤษ หลังจากนั้น ได้ทรงศึกษา วิชากฎหมาย ณ สำนักโครสต์ เซิร์ซ มหาวิทยาลัย อ๊อกซฟอร์ด จนสำเร็จ ได้ปริญญาตรี เกียรตินิยม สาขากฎหมาย
หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว จึงได้เสด็จกลับ ประเทศไทย และได้รับ พระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี ต่อมาในปี พ.ศ.2439 ได้รับพระมหา กรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น สภานายกพิเศษ พิจารณาแก้ไข ธรรมเนียม ศาลยุติธรรม สำหรับหัวเมือง จนสำเร็จ ทั่วพระราชอาณาจักร นอกจากนี้ ยังทรง จัดวางระเบียบ ศาลยุติธรรม ของประเทศ จากระบบเก่า มาสู่ระบบใหม่ ทรงแก้ บทกฎหมาย ว่าด้วย การพิจารณาความแพ่ง และอาญาเสียใหม่ อันส่งผลให้ ราชการ ศาลยุติธรรม ทัดเทียมกับ นานาอารยประเทศ และมั่นคงตราบเท่าทุกวันนี้
ในปี พ.ศ. 2440 พระองค์ทรงเป็น ประธานคณะกรรมการ การตรวจพระราชกำหนด บทอัยการที่ใช้อยู่ และจัดวางระเบียบไว้ เป็นบรรทัดฐาน พระองค์ทรงมี บทบาทอย่างมาก ในการตรวจชำระ บทอัยการครั้งนี้ โดยเฉพาะ การจัดทำ กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 ซึ่งเป็นประมวลกฎหมายไทย ฉบับแรก สำเร็จใน พ.ศ.2451 โดยใช้เวลาถึง 11 ปี ประเทศไทย ได้ใช้ประมวลกฎหมายฉบับนี้มาเป็นเวลานานถึง 49 ปี ซึ่งถือได้ว่าเ ป็นต้นแบบของ ประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งประกาศให้ใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2500
เมื่อครั้งที่พระองค์ ทรงดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ทรงดำริว่า การที่จะให้ ราชการฝ่าย การศาลยุติธรรม ดำเนินไปได้ด้วยดีนั้น จำเป็นต้อง จัดให้มี ผู้รู้กฎหมายมากขึ้น และการที่จะจัดเช่นนั้นได้ดีที่สุด คือ เปิดให้มีการสอน ชุดวิชากฎหมายขึ้น ให้เป็นการแพร่หลาย จึงทรงจัดตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2440 เป็นการเปิดการสอน กฎหมายครั้งแรก พระองค์ทรงเป็นอาจารย์สอนด้วยพระองค์เอง ทรงห่วงใย นักเรียนกฎหมาย และปรารถนาที่จะ ให้ใช้วิชากฎหมาย ในทางปฏิบัติจริง ๆ จึงทรงสนับสนุน ในการว่าความ นักเรียนคนใด ไม่มีความจะว่า ก็ทรงให้ว่าความแทนผู้ต้องหา ในเรือนจำ นอกจาก การสอนประจำวันแล้ว พระองค์ยังทรง แต่งตำราอธิบายกฎหมายลักษณะต่าง ๆ มากมาย และทรงรวบรวม กฎหมายตราสามดวง อันเป็นกฎหมายเก่า ที่ใช้อยู่ในเวลานั้น รวมทั้ง พระราชบัญญัติ บางฉบับ และคำพิพากษาฎีกาบางเรื่อง โดยจัดพิมพ์ขึ้น เป็นสมุดเล่มใหญ่ แบ่งเป็นหมวดหมู่ มีคำอธิบาย และสารบัญละเอียด กฎหมายตราสามดวง ที่ทรงรวบรวมขึ้นนั้นให้ชื่อว่า กฎหมายราชบุรี ซึ่งเป็นรากฐาน ในการศึกษากฎหมายมาหลายทศวรรษ
ต่อมาในปลายปี พ.ศ. 2440 ทรงเปิดให้มีการสอบไล่เป็นเนติบัณฑิต ผู้สำเร็จเนติบัณฑิต เหล่านี้ ได้เข้ารับราชการ เป็นกำลังของกระทรวงยุติธรรมหลายท่านด้วยกัน บางท่านเป็นอาจารย์สอนโรงเรียนกฎหมาย การตั้งโรงเรียนกฎหมาย และพระนิพนธ์ทางกฎหมาย ของพระองค์นั้นนับว่าเป็นรากฐาน ในการก่อตั้งการศึกษานิติศาสตร์ ขึ้นในประเทศไทย ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ อย่างยิ่งแก่ประเทศชาติ
ในปี พ.ศ. 2453 ขณะยังทรงดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ได้ทรงขอลาออกจากราชการ เนื่องจากทรงประชวรอยู่เสมอ จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ลาออกในปีนั้นเอง ต่อมาเมื่อ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ และได้ทรงมีพระบรมราชโองการ แต่งตั้งให้พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ เป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ และในปีนั้นเอง ทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ในระหว่างที่ทรงเป็น เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ได้ทรงจัดการแก้ไข และวางระเบียบการ ในกระทรวงให้ดียิ่งขึ้น คือ ทรงแก้ไข ระเบียบการของหอทะเบียนที่ดินทั้งหลาย ทั่วพระราชอาณาจักร โดยทรงจัดให้มี การประชุม นายทะเบียนเป็นครั้งคราว ทรงพัฒนาการออกโฉนกที่ดิน ซึ่งสมัยนั้นยังไม่มี และทรงทำนุบำรุงการเกษตร โดยเฉพาะเรื่อง การชลประทาน และการทดน้ำ นับว่าพระองค์ได้ทรงปฏิบัติราชการสำคัญ อันเป็นประโยชน์ แก่ประเทศชาติ และประชาชนอย่างยิ่ง
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2462 ทรงประชวรด้วยวัณโรคที่พระวักกะ (ไต) จึงได้ทรง กราบถวายบังคมลา ไปรักษาพระองค์ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2463 ได้ทรงสิ้นพระชนม์ เมื่อพระชนมายุเพียง 47 พรรษา
จากการที่ได้ทรง ทุ่มเทพพระวรกาย ศึกษาวิชาการทางกฎหมาย และทรงทำให้ ระบบกฎหมาย และศาลยุติธรรม ของประเทศไทยเจริญก้าวหน้า ทัดเทียมกับอนารยประเทศทั้งปวงนี้เอง ทำให้ประชาชน ต่างขนานพระนามว่า "พระบิดาแห่งกฎหมายไทย" และกำหนดให้วันที่ 7 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์ เป็น "วันรพี" เพื่อให้ บรรดานักกฎหมาย ได้มีโอกาส แสดงความระลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ด้วยการ วางพวงมาลา หน้าพระรูป และบำเพ็ญกุศลร่วมกัน ตลอดจน การจัดกิจกรรม ทางกฎหมาย ในหลายรูปแบบ เพื่อเผยแพร่ วิชาการกฎหมาย ให้กว้างขวางสู่ประชาชน สมดังพระประสงค์ ที่ต้องการให้ นักกฎหมายมีบทบาท ในการพัฒนาประเทศ โดยพัฒนากฎหมาย ให้ก้าวหน้า เหมาะสมแก่สภาพสังคม ที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย และใช้กฏหมาย เพื่อให้เกิด ความยุติธรรมแก่ประชาชน




 http://www.thaigoodview.com/library/contest2553/type1/social03/08/index.html

ลำดับชั้นของกฎหมายในประเทศไทย(ศักดิ์กฎหมาย)

          ลำดับชั้นของกฎหมายมีไว้เพื่อบ่งบอกถึงระดับสูงต่ำและความสำคัญของกฎหมายแต่ละประเภทรวมไปถึงภาพรวมของกฎหมายที่ใช้กัน กฎหมายที่มีลำดับชั้นต่ำกว่าจะมีผลยกเลิกหรือขัดต่อกฎหมายที่มีลำดับชั้นสูงกว่าไม่ได้ ซึ่งเราจัดลำดับได้ดังนี้


          1.กฎหมายแม่บทที่มีศักดิ์สูงที่สุด ได้แก่ รัฐธรรมนูญ


          รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ เป็นกฎหมายที่วางหลักเกณฑ์การปกครองและกำหนดโครงสร้างในการจัดตั้งองค์กรบริหารของรัฐ กำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชนรวมไปถึงให้ความคุ้มครองสิทธิและหน้าที่ดังกล่าว กฎหมายอื่นๆที่ออกมาจะต้องออกให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายใดที่ขัดกับรัฐธรรมนูญจะก็จะไม่มีผลใช้บังคับได้ เราอาจเปรียบเทียบอย่างง่ายๆโดยนึกไปถึงผู้ว่าจ้างคนหนึ่ง จ้างผู้รับจ้างให้ก่อสร้างบ้าน โดยให้หัวข้อมาว่าต้องการบ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรงมั่นคง รูปแบบบ้านเป็นทรงไทย ผู้รับจ้างก็ต้องทำการออกแบบและก่อสร้างให้โครงสร้างบ้านแข็งแรงและออกเป็นแบบทรงไทย ถ้าบ้านออกมาไม่ตรงตามที่ผู้ว่าจ้างต้องการ ก็อาจถือได้ว่าผู้รับจ้างผิดสัญญาได้ หัวข้อที่ผู้ว่าจ้างให้มาอาจเปรียบได้กับรัฐธรรมนูญ ซึ่งเพียงแต่กำหนดกฎเกณฑ์หรือรูปแบบเอาไว้เป็นแนวทางหรือเป้าหมาย ส่วนการออกแบบและการก่อสร้างอาจเปรียบได้กับกฎหมายอื่นๆที่ต้องออกมาให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ถ้าออกแบบมาหรือสร้างไม่ตรงกับความต้องการก็เปรียบเทียบได้กับการออกกฎหมายอื่นๆมาโดยไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ก็จะมีผลเป็นการผิดสัญญาหรืออาจเปรียบเทียบในทางกฎหมายได้ว่ากฎหมายนั้นๆใช้ไม่ได้


          2.กฎหมายที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจแก่ฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหารเป็นผู้ออก ได้แก่ ประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด กฎหมายเหล่านี้ถือว่ามีศักดิ์เป็นลำดับที่สองรองจากรัฐธรรมนูญ


          -ประมวลกฎหมาย คือเป็นการรวมรวบเอาหลักกฎหมายในเรื่องใหญ่ๆซึ่งเป็นเรื่องทั่วไปมาจัดเป็นหมวดหมู่ให้เป็นระเบียบ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและเพาณิชย์ ฯลฯ ประมวลกฎหมายต่างๆ ถือเป็นกฎหมายที่เป็นหลักทั่วๆไป ที่กล่าวถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคลแต่ละคน บุคคลในสังคมต้องประพฤติปฏิบัติตนอย่างไรและห้ามประพฤติปฏิบัติตนอย่างไรบ้าง และรวมไปถึงการให้ความคุ้มครองต่อสิทธิต่างๆของบุคคลแต่ละคนด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ต่างๆที่รัฐธรรมนูญวางไว้


          -พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง คือเป็นกฎหมายที่ออกมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใด เช่น พระราชบัญญัติล้มละลาย ก็จะเป็นเรื่องเฉพาะเกี่ยวกับการล้มละลาย หรือพระราชบัญญัติสัญชาติ ก็จะเกี่ยวข้องเฉพาะกับเรื่องสัญชาติของบุคคล ฯลฯ ซึ่งพระราชบัญญัตินี้จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับฝ่ายบริหารหรือก็คือรัฐบาลค่อนข้างมาก เพราะฝ่ายบริหารจะเป็นผู้กำหนดนโยบายในการบริหารประเทศ และเสนอกฎหมายเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายนั้นๆให้สภานิติบัญญัติทำการออกนั่นเองและกฎหมายที่ออกมานั้นแม้จะมีการเปลี่ยนฝ่ายบริหารหรือฝ่ายรัฐบาลแล้ว ก็จะมีผลใช้บังคับอยู่ จนกว่ากฎหมายนั้นจะถูกยกเลิกหรือมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง


          -พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารหรือก็คือรัฐบาล เป็นกฎหมายที่ออกใช้ไปพลางก่อนในกรณีที่มีจำเป็นเร่งด่วน หลังจากมีการใช้ไปพลางก่อนแล้ว ในภายหลังพระราชกำหนดนั้นก็อาจกลายเป็นพระราชบัญญัติซึ่งจะมีผลบังคับเป็นการถาวรได้ ถ้าสภานิติบัญญัติให้การอนุมัติ แต่ถ้าสภาไม่อนุมัติพระราชกำหนดนั้นก็ตกไป แต่จะไม่ทระทบกระเทือนถึงกิจการที่ได้กระทำไปในระหว่างใช้พระราชกำหนดนั้น ซึ่งพระราชกำหนดจะออกได้เฉพาะกรณีต่อไปนี้เท่านั้น คือ กรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อรักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือเพื่อรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือเพื่อจะป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ หรือมีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตรา


          3.กฎหมายที่ฝ่ายบริหารเป็นผู้ออก ได้แก่ พะราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง


          (ก).พระราชกฤษฎีกาเป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร ซึ่งจะออกได้เฉพาะในกรณีต่อไปนี้คือ


          -รัฐธรรมนูญกำหนดให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาในกิจการอันสำคัญที่เกี่ยวกับฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ฯลฯ


          -โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายแม่บทซึ่งก็คือ พระราชบัญญัติ หรือ พระราชกำหนด คือจะต้องมีพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดให้อำนาจในการออกไว้ เช่น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากร พ.ศ. 2528 กำหนดว่าหากจะเปิดศาลภาษีอากรจังหวัดเมื่อใด ต้องประกาศโดยพระราชกฤษฎีกา ฯลฯ ด้วยการที่พระราชกฤษฎีกาเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าพระราชบัญญัติและพระราชกำหนด ดังนั้นจะออกมาขัดกับพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทนั้นไม่ได้


          -กรณีที่จำเป็นอื่นๆในเรื่องใดก็ได้ แต่ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย


          (ข).กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีแต่ละกระทรวงเป็นผู้ออก โดยอาศัยอำนาจจากกฎหมายแม่บทซึ่งก็คือพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดฉบับใดฉบับหนึ่ง เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายนั้นๆ พระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดจะกำหนดกฎเกณฑ์กว้างๆเอาไว้ ส่วนกฎกระทรวงก็จะมากำหนดรายละเอียดอีกชั้นหนึ่ง เช่น ในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ได้กำหนดว่า ในกรณีที่ใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของบุคคลใดเพื่อขายทอดตลาด ผู้ที่มีอำนาจสั่งให้ยึด อายัดหรือขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้น ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง เราก็ต้องไปศึกษาในกฎกระทรวงอีกชั้นหนึ่งว่าผู้ที่มีอำนาจสั่งนั้นคือใครบ้าง ฯลฯ


          4.กฎหมายที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ออก ได้แก่ เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบังคับสุขาภิบาล ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติเมืองพัทยา


          เป็นกฎหมายที่ออกมาใช้บังคับโดยเฉพาะในแต่ละองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เป็นไปตามหน้าที่ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น หรือในกรณีที่กฎหมายให้อำนาจไว้ก็ทำการออกได้เช่นกัน เช่น ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เป็นกฎหมายที่กรุงเทพมหานครตราขึ้นเพื่อใช้บังคับในเขตกรุงเทพมหานครเท่านั้น  หรือเทศบัญญัติ ก็เป็นกฎหมายที่เทศบาลบัญญัติขึ้นใช้บังคับเฉพาะในเขตเทศบาลของตน


http://www.lawsiam.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=32

อนุญาโตตุลาการ (arbitration)

         อนุญาโตตุลาการ (arbitration) คือกระบวนการระงับข้อพิพาททางแพ่ง ถือเป็นทางเลือกในการระงับข้อพิพาทนอกเหนือจากการนำคดีเข้าสู่กระบวบการตุลาการ หรือการนำคดีขึ้นสู่ศาล (Alternative Dispute Resolution or ADR)ในกรณีปกติ ข้อพิพาทหรือคดีความย่อมขึ้นสู่ศาล แต่สำหรับกรณีข้อพิพาททางแพ่ง เช่น เรื่องการผิดสัญญา การค้าขายคู่กรณีสามารถมีข้อตกลงให้ใช้วิธีการระงับข้อพิพาทโดยอาศัยการตัดสินของผู้ทรงคุณวุฒิอันคู่กรณีเป็นผู้เลือกได้ ผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวเรียกว่า อนุญาโตตุลาการ โดยปกติจะประกอบด้วยบุคคลสามคน (Tribunal) อนุญาโตตุลาการสองคนแรกนั้นได้รับการแต่งตั้งโดยคู่กรณีแต่ละฝ่าย และจากนั้นอนุญาโตตุลาการทั้งสองคนจะตกลงเลือกอนุญาโตตุลาการคนที่สามเพื่อให้เกิดความเป็นกลางเมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้น อนุญาโตตุลาการจะทำหน้าที่วินิจฉัยข้อพิพาทเสมือนศาลแต่มิได้เป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการประหนึ่งศาลแต่อย่างใด กล่าวคือเมื่ออนุญาโตตุลาการได้พิจารณาข้อพิพาทและมีคำตัดสิน (Award) เพื่อระงับข้อพิพาทแล้ว เช่นให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งชดใช้ค่าเสียหายให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง อำนาจของอนุญาโตตุลาการก็สิ้นสุดแต่เพียงเท่านั้น หากไม่มีการชดใช้ค่าเสียหายตามคำตัดสิน อนุญาโตตุลาการมิได้มีอำนาจไปบังคับหรือปรับหรือลงโทษผู้ไม่ทำตามแต่อย่างใดสิ่งที่ทำให้การระงับข้อพิพาทมีผลบังคับก็คือการนำคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการไปร้องต่อศาล เมื่อศาลพิจารณาและเห็นว่าคำตัดสินเป็นผลจากการตกลงยินยอมของคู่กรณีเพื่อระงับข้อพิพาท ศาลย่อมสามารถใช้อำนาจตุลาการบังคับให้ต้องปฏิบัติตามคำตัดสินนั้น


http://www.learners.in.th/blogs/posts/50010

กฎหมายกับธุรกิจ

ความหมายของคำว่าธุรกิจ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานให้คำนิยามคำว่าธุรกิจว่า การงานประจำที่เกี่ยวกับอาชีพค้าขายหรือกิจการอย่างอื่นที่สำคัญและที่ไม่ใช่ราชการธุรกิจอาจหมายความรวมถึงกิจกรรมต่างๆที่กระทำกันทั่วไปหรือหมายความถึงกิจกรรมของมนุษย์ที่กระทำขึ้นเพื่อการผลิตหรือได้มาซึ่งทรัพย์บริการ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นกิจกรรมที่หวังผลกำไร อย่างเช่นการธนาคาร,การขนส่ง,การก่อสร้าง,การทำเหมืองหรือโรงงานผลิตสิ่งของต่างๆหรือกิจกรรมที่มีการแลกเปลี่ยนต่างๆเช่นการจ่ายค่าน้ำมันเติมรถยนต์,การจ่ายค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น การประกอบธุรกิจจึงหมายถึง การกระทำกิจกรรมของมนุษย์ที่กระทำขึ้นเพื่อการผลิต หรือได้มาซึ่งทรัพย์ หรือบริการ และการนำสินค้าหรือบริการนั้นไปขายหรือจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคเพื่อแสวงหาผลกำไร ซึ่งปัจจุบันธุรกิจแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ธุรกิจการผลิต,ธุรกิจบริการ,และธุรกิจคนกลางทางการตลาด ซึ่งธุรกิจการผลิตก็หมายถึง เช่นอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ อุตสาหกรรมอาหารและผลไม้แปรรูป อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและเสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น ส่วนธุรกิจบริการ เช่น ธุรกิจการเงิน การธนาคาร หลักทรัพย์ ประกันภัย การท่องเที่ยวการโรงแรม เป็นต้น ส่วนธุรกิจคนกลางทางตลาดก็อย่างเช่น ธุรกิจขายปลีก ขายส่ง เป็นต้น ในการดำเนินชีวิตในหลายรูปแบบได้ถูกตีกรอบไว้ด้วยกฎหมาย เนื่องจาก กฎหมายมีส่วนเกี่ยวพันกับผู้คนในสังคม การดำเนินธุรกิจก็ไม่สามารถอยู่นอกเหนือกฎเกณฑ์นี้ได้ อย่างไรก็ตามผู้คนส่วนใหญ่มักไม่ค่อยเข้าใจถึงคำนิยามของกฎหมายอย่างถูกต้องและเป็นทางการ เพียงแต่เข้าใจว่ากฎหมายเป็นตัวแห่งกฎ หรือเป็นกฎที่ได้วางไว้แล้วและใช้บังคับกับผู้คนในสังคม การที่กฎหมายเข้าไปเกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจและมีความสำคัญ เพราะกฎหมายเป็นเครื่องมือพื้นฐานของสังคมที่ส่งเสริมและควบคุมความเป็นระเบียบต่างๆในสังคม รวมทั้งความเป็นระเบียบทางเศรษฐกิจของสังคม ในการรักษาความสงบสุขและความเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยการเข้าไปควบคุมกิจกรรมต่างๆขอองประชาชนหรือองค์กรต่างๆที่ประกอบธุรกิจ เพื่อให้การประกอบธุรกิจเป็นประโยชน์ต่อสังคม และการช่วยการส่งเสริมการประกอบธุรกิจด้วย

http://www.learners.in.th/blogs/posts/46328

การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์


1.การใช้ Username และ Password ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


2.การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น เช่น การนำข้อมูลการลงทะเบียนหรือ ข้อมูลอื่น ๆไปเผยแพร่จนก่อใหเกิดความเสียหาย จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


3.ล้วงข้อมูลคอมพิวเตอร์จากระบบของผู้อื่น จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


4.ลักลอบดักฟัง ตรวจสอบ หรือติดตามเนื้อหาสาระของข่าวสารส่วนตัวที่สื่อสารระหว่างบุคคล จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


5. ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือ เพิ่มเติม ไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วนในข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น เช่น ส่งไวรัสเข้าระบบจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


6.ส่ง e-mail รบกวนคนอื่นโดยไม่บอกแหล่งที่มา (Spam Mail) ปรับไม่เกิน 100,000 บาท


7. สร้างความเสียหายต่อข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับความ มั่งคงของประเทศ จำคุก 3-15 ปี หรือปรับ 60,000 - 300,000 บาท หากทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายต้องจำคุก 10 -20 ปี


8.ขายซอฟท์แวร์สนับสนุนการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ (hacking) จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- จะมีกฎกระทรวงแจ้งว่าเป็นโปรแกรมใดบ้าง


9.เผยแพร่ภาพ หรือ เนื้อหา ลามกอนาจารเข้าระบบคอมพิวเตอร์ ทาง e-mail หรือแผ่นดิสก์ หรือ สั่งพิมพ์ จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


10.เจ้าของเว็บไซท์ที่สนับสนุนการกระทำในข้อ 9 จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตัดต่อ ดัดแปลงภาพ ทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง หรือได้รับความอับอาย ถือว่าเป็นความผิดฐานดูหมิ่น หรือหมิ่นประมาท จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่สามารถยอมความกันได้


12.คนไทยทำความผิด สร้างความเสียหาย แต่อยู่ต่างประเทศ จะต้องรับโทษในไทย


13.ต่างชาติทำผิดอยู่ต่างประเทศ คนไทย หรือรัฐบาลไทย สามารถเรียกร้องเอาความผิดได้ และรับโทษในไทย

กฎหมายพาณิชยนาวีคืออะไร

กฎหมายพาณิชยนาวีคืออะไร             หากดูคำว่า “พาณิชยนาวี” แล้วจะเห็นได้ว่าประกอบด้วยคำสองคำ ได้แก่คำว่า “พาณิชย์” และคำว่า “นาวี” ซึ่งหากแปลความหมายตรงๆ แล้วก็คงหมายถึงการค้าทางทะเล ซึ่งหากนำมาประกอบกับคำว่า “กฎหมาย” แล้ว ความหมายของคำดังกล่าวก็น่าจะถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าทางทะเล อย่างไรก็ตาม หากพิจารณากิจกรรมทางพาณิชยนาวีในปัจจุบันแล้วจะเห็นได้ว่า กฎหมายพาณิชยนาวีไม่ได้ครอบคลุมเฉพาะการค้าทางทะเลเท่านั้น คำว่า “กฎหมายพาณิชยนาวี” มีที่มาจากภาษาอังกฤษว่า maritime law ซึ่ง Black’s Law Dictionary ได้อธิบายไว้สรุปสาระสำคัญได้ว่าเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าทางทะเล การเดินเรือและกิจการทางทะเล (marine affairs) รวมถึงการกระทำละเมิดและข้อพิพาททางแพ่งสืบเนื่องจากกิจการทางทะเล และการใช้อำนาจของรัฐในการกักเรือไว้ด้วย ในสมัยโบราณกฎหมายพาณิชยนาวีจะครอบคลุมเพียงกิจกรรมพาณิชยที่ดำเนินการในทะเลหรือเกี่ยวเนื่องกับทะเล เช่น การรับขนของทางทะเล การเฉลี่ยความเสียหายทั่วไป หรือการประกันภัยทางทะเล ซึ่งเป็นกิจกรรมระหว่างเอกชนกับเอกชน ทั้งนี้เนื่องจากกฎหมายพาณิชยนาวีในสมัยก่อนถือว่าเป็นกฎหมายของพ่อค้า (lex mercatoria หรือ merchant law) ซึ่งมีที่มาจากข้อตกลงและแนวทางปฏิบัติของบรรดาพ่อค้าในยุคกลางของทวีปยุโรปที่กำหนดธรรมเนียมปฏิบัติในเมืองท่าการค้าไว้เป็นแนวทางเดียวกันจนกระทั่งมีการยอมรับเป็นที่แพร่หลาย และต่อมาได้คลี่คลายเป็นกฎหมายพาณิชยนาวีที่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ในสมัยหลังก็ได้มีการยอมรับว่ากฎหมายหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ เกี่ยวเนื่องกับการใช้อำนาจของรัฐที่อยู่ในสถานะที่เหนือกว่าต่อเอกชนซึ่งเป็นคนชาติของตนเองหรือคนชาติของรัฐอื่นที่เข้ามาในเขตอำนาจของรัฐนั้นๆ ก็อยู่ในขอบข่ายของกฎหมายพาณิชยนาวีด้วยเช่นกัน ทั้งนี้อาจแบ่งประเภทของกฎหมายพาณิชยนาวีออกตามลักษณะการใช้บังคับกฎหมายดังต่อไปนี้                กฎหมายพาณิชยนาวีภาคมหาชน กฎหมายพาณิชยนาวีประเภทนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน (ไม่ว่าจะเป็นเอกชนของรัฐนั้นหรือของรัฐอื่น) โดยที่รัฐจะอยู่ในสถานะที่เหนือกว่าเอกชน และบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวแก่เอกชนเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ ซึ่งหากเอกชนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ก็จะต้องรับโทษ ตัวอย่างของกฎหมายประเภทนี้ได้แก่กฎหมายเกี่ยวกับสัญชาติของเรือ การเดินเรือ การทิ้งของลงจากเรือซึ่งทำให้เกิดมลภาวะในทะเล หรือกฎหมายที่กำหนดให้มีการขึ้นทะเบียนกิจกรรมทางพาณิชยนาวีต่างๆ             กฎหมายพาณิชยนาวีภาคเอกชน เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน หรือระหว่างเอกชนด้วยกันเองโดยทั้งสองฝ่ายมีสถานะเท่าเทียมกัน ซึ่งสิทธิทางแพ่งและทางพาณิชย์ระหว่างกันอาจเกิดขึ้นได้จากนิติกรรม (เช่น สัญญารับขนของทางทะเล) หรือเกิดขึ้นจากนิติเหตุ (เช่น ความรับผิดทางแพ่งจากเรือโดนกัน หรือการเฉลี่ยความเสียหายทั่วไป) เมื่อเกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างกันแล้วคู่กรณีก็จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงหรือกฎหมาย และสามารถใช้เรียกร้องให้คู่กรณีอีกฝ่ายปฏิบัติตามพันธกรณีหรือตามกฎหมายที่บัญญัติได้ เมื่อพิจารณาจากลักษณะของกฎหมายพาณิชยนาวีดังที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้วจะเห็นได้ว่า กฎหมายพาณิชยนาวีนั้นไม่ได้หมายถึงกฎหมายที่ใช้บังคับเฉพาะกิจกรรมทางพาณิชย์เท่านั้น แต่ครอบคลุมถึงการใช้อำนาจของรัฐเพื่อประโยชน์สาธารณะเกี่ยวกับกิจกรรมพาณิชย์ที่เกี่ยวเนื่องกับทะเลด้วย