ยินดีต้อนรับ

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

สรุปกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา


สิทธิบัตร เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทเดียวที่เป็นสิทธิที่ก่อตั้งขึ้นด้วยการจดทะเบียนและตรวนสองแตกต่างจากสิชสิทธิ์ซึ่งสิทธิเกิดขึ้นทันทีเมื่อสร้างสรรค์งานและแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าซึ่งทางทฤษฎีสิทธิอาจเกิดขึ้นเนื่องจากการใช้เครื่องหมาย แต่จะมีผลสมบูรณ์ต้องมีการจดทะเบียน ฉะนั้นหากไม่มีการจดทะเบียนสิทธิบัตรแล้ว สิทธิก็ไม่เกิดขึ้น
หลักการของการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตร เป็นการแลกเปลี่ยนกัน กล่าวคือ ผู้ขอรับสอทธิบัตรจะต้องทำการเปิดเผยรายละเอียดหรือความลับเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการคุ้มครอง และการเปิดเผยต้องมีลักษณะสมบูรณ์ ชัดแจ้ง และเป็นประโยชน์ต่อสังคมมากที่สุด เพื่อที่สังคมจะได้เอาไปใช้
ความหมายของคำว่า ?สิทธิบัตร? (patent) อาจอธิบายได้ 2 ความหมาย คือ
ความหมายแรก หมายถึง หนังสือสำคัญหรือเอกสารสิทธิประเภทหนึ่ง ซึ่งตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร มาตรา 3 บัญญัติว่า ?สิทธิบัตร หมายความว่าหนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ตามที่กำหนดโดยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้?
ความหมายที่สอง หมายถึง สิทธิพิเศษประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นสิทธิแต่ผู้เดียว (exclusive right) เหนือการกระทำ บางอย่างที่กฎหมายกำหนด เช่น ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร มาตรา 36 บัญญัติให้ผู้ทรงสิทธิบัตรเท่านั้นที่มีสิทธิในการผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย หรือนำเข้าในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร
นอกจากสิทธิบัตรแล้ว ตามกฎหมายสิทธิบัตรที่มีการแก้ไขล่าสุด ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติให้ความคุ้มครอง อนุสิทธิบัตร ( petty patent) ไว้ในมาตรา 65 ทวิ จุดประสงค์ของการให้ความคุ้มครองอนุสิทธิบัตร เนื่องจากการประดิษฐ์บางอย่างไม่มีคุณสมบัติถึงมาตรฐานที่จดทะเบียนสิทธิบัตรได้ (standard patent) เพราะเป็นการประดิษฐ์ที่ไม่ซับซ้อนและไม่มีเทคโนโลยีสูงมากนัก เช่น หลอดดูดกาแฟ เดิมตรงหักไม่ได้ ปัจจุบันหลอดพับได้ เรื่องอนุสิทธิบัตรมีบัญญัติไว้ในมาตรา 65 ทวิ โดยสรุปแล้วอนุสิทธิบัตร คือ รูปแบบของสิทธิบัตรอันหนึ่งแต่ระยะเวลาคุ้มครองจะสั้นกว่าสิทธิบัตรธรรมดา

เนื้อหาของกฎหมายสิทธิบัตร อาจแบ่งแยกได้เป็น 4 ส่วย ดังนี้
ส่วนที่หนึ่ง สิ่งที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายสิทธิบัตร
ส่วนที่สอง ลักษณะของการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้
ส่วนที่สาม บุคคลที่มีสิทธิบัตร และคำขอรับสิทธิบัตร
ส่วนที่สี่ การกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิบัตรและข้อยกเว้น


บทที่ 1 สิ่งที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายสิทธิบัตร

1. การประดิษฐ์ (invention)
2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ (product design)

1.การประดิษฐ์ ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร มาตรา 3 ให้นอยามไว้ว่า หมายความว่าการคิดค้นหรือคิดทำขึ้นอันเป็นผลให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ หรือกรรมวิธีใดขึ้นใหม่ หรือการกระทำใดๆ ที่ทำให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์ หรือกรรมวิธี จากนิยามดังกล่าวอาจแยกได้เป็น 2 องค์ประกอบ คือ
1.1การประดิษฐ์ คือ การคิดค้นหรือคิดทำขึ้น หมายความว่า การประดิษฐ์เป็นการใช้ความคิด ซึ่งแตกต่างจากคำว่า สิ่งประดิษฐ์ ซึ่งเป็นผลที่ได้จากการใช้ความคิดและมุ่งไปที่ตัววัตถุ ฉะนั้นการคุ้มครองของสิทธิบัตรและลิขสิทธิ์ จึงแตกต่างกันอย่างชัดเจน เรื่องความคุ้มครองความคิด สิทธิบัตร ให้ความคุ้มครองความคิด สารสำคัญของความคิด ในขณะที่ลิขสิทธิ์ไม่คุ้มครองความคิด แต่คุ้มครองการแสดงออกซึ่งความคิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ มาตรา 6 วรรคสอง
1.2 การประดิษฐ์ คือผลที่เกิดจากการใช้ความคิดนั้น ซึ่งมี 2 ประเภท คือ
ก. ผลิตภัณฑ์ (product)
ข. กรรมวิธี(process)

ผลิตภัณฑ์ กฎหมายไม่ได้ให้ความหมายไว้ แต่อาจกล่าวได้ว่าผลิตภัณฑ์ หมายถึงสิ่งที่มีรูปร่างหรือมีคุณสมบัติทางกายภาพ เช่น เครื่องจักรกล เครื่องสำเร็จ อุปกรณ์ เครื่องมือ ผลิตภัณฑ์ทางเคมี หรืออาจกล่าวได้ว่าผลิตภัณฑ์ คือสิ่งที่มนุษย์ได้ผลิตขึ้นหรือทำให้เกิดขึ้น คำว่า ผลิตขึ้น คือ การกระทำให้เกิดขึ้นนอกเหนือจากสิ่งที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ ฉะนั้นสิ่งที่มีชีวิตต่างๆ เช่น สัตว์ พืช จุลชีพ หรือ จุลินทรีย์ ที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ จึงไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์คิดค้นขึ้น หากมนุษย์ไปพบเรียกว่า การค้นพบ การค้นพบจึงไม่ใช่การประดิษฐ์ แต่ถ้าเป็นสิ่งที่มนุษย์คิดค้นขึ้น เช่น จุลินทรีย์ที่ทำผงชูรส ถือเป็นผลิตภัณฑ์อย่างหนึ่ง จึงขอจดทะเบียนสิทธิบัตรได้ ส่วนสัตว์ หรือพืชที่เกิดจากการคิดค้นของมนุษย์ก็เป็นผลิตภัณฑ์ แต่ตาม มาตรา 9 (1) ตอนท้าย ได้บัญญัติว่า สัตว์และพืชทุกชนิดไม่ว่าจะเกิดตามธรรมชาติหรือเกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นของมนุษย์ ขอจดทะเบียนไม่ได้ อย่างไรก็ตามกฎหมายห้ามเฉพาะการจดสิทธิบัตร ตัวสัตว์และพืช แต่ไม่รวมถึงกรรมวิธีในการผลิตสัตว์และพืช ฉะนั้นวิธีในการผลิตพันธุ์ฝ้าย แสมพันธุ์ข้าว ผสมพันธุ์ปลาบึก จึงขอจดทะเบียนสิทธิบัตรกรรมวิธีได้ คำว่า ผลิตภัณฑ์ เป็นผลที่ได้จากการประดิษฐ์หรืออาจเรียกว่าเป็นสิ่งที่ประดิษฐ์ซี่งกฎหมายคุ้มครองลักษณะภายในของผลิตภัณฑ์ ฉะนั้นจึงอย่าสับสนกับ คำว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งกฎหมายคุ้มครองลักษณะภายนอก เช่น รูปร่างของผลิตภัณฑ์
ข้อสังเกตประการสุดท้ายของผลิตภัณฑ์ คือ กฎหมายสิทธิบัตรไม่ได้ให้ความหมาย หรือกำหนดประเภทของผลิตภัณฑ์ที่จะได้รับความคุ้มครอง แตกต่างกับลิขสิทธิ์ ซึ่งระบุประเภทงานที่กฎหมายให้ความคุ้มครองไว้ใน มาตรา 6 วรรคแรก เช่น งานวรรณกรรม ศิลปกรรมเป็นต้น ฉะนั้น ผลิตภัณฑ์ที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายสิทธิบัตรจึงเป็นอะไรก็ได้ที่ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 9 และมีคุณสมบัติ ตามมาตรา 5

กรรมวิธี เป็นการประดิษฐ์ที่เป็นผลจากการคิดค้นหรือคิดทำขึ้น ตามมาตรา 3 ได้ให้ความหมายกรรมวิธีว่า หมายถึง การคิดค้นหรือคิดทำขึ้นในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำหรือการปฏิบัติ การกระทำหรือการปฏิบัติต่อวัตถุต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดผล 2 ลักษณะ คือ
1. ลักษณะที่ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ ซึ่งเรียกว่า กรรมวิธีการผลิต ซึ่งหมายถึง ขั้นตอนในการกระทำที่ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ขึ้นมา เช่น วิธีการผสมปูนซีเมนต์
2. ลักษณะในการเก็บรักษาให้คงสภาพ หรือทำให้คุณภาพดีขึ้น เช่น วิธีการหมักเบียร์ การฉายรังสีส้มเขียวหวาน

โดยสรุปแล้ว การประดิษฐ์ มีอยู่ 2 ส่วน ขึ้นอยู่กับลักษณะ ถ้าเป็นความคิดหรือการคิดค้นเกี่ยวกับตัววัตถุ เป็นการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ แต่ถ้าเป็นการคิดค้นเกี่ยวกับขั้นตอนการผลิต วิธีการทำ เรียกว่า การประดิษฐ์ที่เป็นกรรมวิธี

การจดทะเบียนสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์กับสิทธิบัตรกรรมวิธีให้ผลคุ้มครองแตกต่างกัน การจดทะเบียนสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ให้ความคุ้มครองมากกว่าสิทธิบัตรกรรมวิธี เพราะเมื่อจดทะเบียนสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ไว้แล้วส่วนที่ได้รับความคุ้มครอง คือผลิตภัณฑ์ คนอื่นไม่มีสิทธิในผลิตภัณฑ์นั้นไม่ว่าจะผลิตขึ้นโดยวิธีใดก็ตาม หากมีลักษณะเหมือนกับผลิตภัณฑ์ที่จดไว้ก็เป็นการละเมิดสิทธิบัตร แต่ถ้าจดทะเบียนสิทธิบัตรกรรมวิธีไว้เฉพาะ การใช้วิธีการผลิตที่จดไว้เท่านั้นจึงเป็นการละเมิดสิทธิบัตร ดังเช่น คำพิพากษาฎีกาที่ 3523/2537 โจทก์ร่วมได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ตะกร้อพลาสติก ดังนั้นไม่ว่าผู้ผลิตรายใดจะพัฒนาวิธีการสานตระกร้อพลาสติกให้ดีกว่า หรือต่างไปจากวิธีการสานขิ่งโจทก์ร่วมเพียงใดก็ตาม หากลูกตระกร้อที่ผลิตออกมามีรูปร่างลักษณะเหมือนกับโจทก์ร่วมแล้ว ถือว่าผลิตภัณฑ์นั้นผลิตโดยละเมิดข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรของโจทก์ร่วม

2.การออกแบบผลิตภัณฑ์
ให้สังเกตคำว่า การออกแบบ ซึ่งเป็นการใช้ความคิด การคิดค้นหรือคิดทำขึ้นเหมือนกับการประดิษฐ์
คำว่า แบบผลิตภัณฑ์ หมายความว่า รูปร่างของผลิตภัณฑ์ หรือองค์ประกอบของลวดลายหรือสีของผลิตภัณฑ์อันมีลักษณะพิเศษ สำหรับผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม รวมทั้งหัตถกรรมได้ ฉะนั้นการออกแบบผลิตภัณฑ์จึงเป็นการใช้ความคิดในการออกแบบ ซึ่งกฎหมายให้ความคุ้มครองผลของการออกแบบ 2 ประเภท คือ รูปร่างของผลิตภัณฑ์ และองค์ประกอบของลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์

รูปร่าง คือ ลักษณะภายนอกที่มีลักษณะสามมิติ หรือรูปทรง
ลวดลายหรือสี เป็นการออกแบบให้เกิดลักษณะขึ้นที่พื้นผิวของวัสดุ หรือแบบผลิตภัณฑ์
ใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม รวมทั้งหัตถกรรม หมายถึง การออกแบบเพื่อใช้ผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม หรือหัตถกรรม ซึ่งต่างจากลิขสิทธิ์ ลิขสิทธิ์มิได้มุ่งผลิตสินค้า แต่เป็นงานสร้างสรรค์เพื่อแสดงออกซึ่งข้อมูล อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด เช่น การปั้นรูปก็เพื่อให้เห็นความงดงาม อย่างไรก็ตาม คำพิพากษาฎีกาที่ 6379/2537 วินิจฉัยเรื่อง การออกแบบปากกาลูกลื่นว่าเป็นงานศิลปประยุกต์ตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ซึ่งหากพิจารณาวัตถุประสงค์ของการสร้างเพื่อต้องการผลิตสินค้า ฉะนั้นการออกแบบปากกาลูกลื่นจึงเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ตามกฎหมายสิทธิบัตร

โดยสรุปแล้ว การออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องเป็นการออกแบบเกี่ยวกับความสวยงามภายนอกของวัตถุอันสามารถปรากฎแก่สายตาของผู้ชม เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าตกลงซื้อผลิตภัณฑ์ ซึ่งต่างจากการผระดิษฐ์ซึ่งให้ความคุ้มครองสาระสำคัญภายในของผลิตภัณฑ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น