ยินดีต้อนรับ

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พระบิดาแห่งกฎหม


     พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงมีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงเป็น พระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจองมารดาตลับ ทรงประสูตเมื่อ วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ .2417
เมื่อยังทรงพระเยาว์ ได้ทรงศึกษาวิชาภาษาไทย ในสำนัก ของพระยาศรีสุนทรโวหาร ( น้อย อาจารยางกูร ) และพระยาโอวาทวรกิจ ต่อมา ทรงศึกษาต่อที่ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ และได้ทรงศึกษา ชั้นมัธยม ที่ประเทศอังกฤษ หลังจากนั้น ได้ทรงศึกษา วิชากฎหมาย ณ สำนักโครสต์ เซิร์ซ มหาวิทยาลัย อ๊อกซฟอร์ด จนสำเร็จ ได้ปริญญาตรี เกียรตินิยม สาขากฎหมาย
หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว จึงได้เสด็จกลับ ประเทศไทย และได้รับ พระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี ต่อมาในปี พ.ศ.2439 ได้รับพระมหา กรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น สภานายกพิเศษ พิจารณาแก้ไข ธรรมเนียม ศาลยุติธรรม สำหรับหัวเมือง จนสำเร็จ ทั่วพระราชอาณาจักร นอกจากนี้ ยังทรง จัดวางระเบียบ ศาลยุติธรรม ของประเทศ จากระบบเก่า มาสู่ระบบใหม่ ทรงแก้ บทกฎหมาย ว่าด้วย การพิจารณาความแพ่ง และอาญาเสียใหม่ อันส่งผลให้ ราชการ ศาลยุติธรรม ทัดเทียมกับ นานาอารยประเทศ และมั่นคงตราบเท่าทุกวันนี้
ในปี พ.ศ. 2440 พระองค์ทรงเป็น ประธานคณะกรรมการ การตรวจพระราชกำหนด บทอัยการที่ใช้อยู่ และจัดวางระเบียบไว้ เป็นบรรทัดฐาน พระองค์ทรงมี บทบาทอย่างมาก ในการตรวจชำระ บทอัยการครั้งนี้ โดยเฉพาะ การจัดทำ กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 ซึ่งเป็นประมวลกฎหมายไทย ฉบับแรก สำเร็จใน พ.ศ.2451 โดยใช้เวลาถึง 11 ปี ประเทศไทย ได้ใช้ประมวลกฎหมายฉบับนี้มาเป็นเวลานานถึง 49 ปี ซึ่งถือได้ว่าเ ป็นต้นแบบของ ประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งประกาศให้ใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2500
เมื่อครั้งที่พระองค์ ทรงดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ทรงดำริว่า การที่จะให้ ราชการฝ่าย การศาลยุติธรรม ดำเนินไปได้ด้วยดีนั้น จำเป็นต้อง จัดให้มี ผู้รู้กฎหมายมากขึ้น และการที่จะจัดเช่นนั้นได้ดีที่สุด คือ เปิดให้มีการสอน ชุดวิชากฎหมายขึ้น ให้เป็นการแพร่หลาย จึงทรงจัดตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2440 เป็นการเปิดการสอน กฎหมายครั้งแรก พระองค์ทรงเป็นอาจารย์สอนด้วยพระองค์เอง ทรงห่วงใย นักเรียนกฎหมาย และปรารถนาที่จะ ให้ใช้วิชากฎหมาย ในทางปฏิบัติจริง ๆ จึงทรงสนับสนุน ในการว่าความ นักเรียนคนใด ไม่มีความจะว่า ก็ทรงให้ว่าความแทนผู้ต้องหา ในเรือนจำ นอกจาก การสอนประจำวันแล้ว พระองค์ยังทรง แต่งตำราอธิบายกฎหมายลักษณะต่าง ๆ มากมาย และทรงรวบรวม กฎหมายตราสามดวง อันเป็นกฎหมายเก่า ที่ใช้อยู่ในเวลานั้น รวมทั้ง พระราชบัญญัติ บางฉบับ และคำพิพากษาฎีกาบางเรื่อง โดยจัดพิมพ์ขึ้น เป็นสมุดเล่มใหญ่ แบ่งเป็นหมวดหมู่ มีคำอธิบาย และสารบัญละเอียด กฎหมายตราสามดวง ที่ทรงรวบรวมขึ้นนั้นให้ชื่อว่า กฎหมายราชบุรี ซึ่งเป็นรากฐาน ในการศึกษากฎหมายมาหลายทศวรรษ
ต่อมาในปลายปี พ.ศ. 2440 ทรงเปิดให้มีการสอบไล่เป็นเนติบัณฑิต ผู้สำเร็จเนติบัณฑิต เหล่านี้ ได้เข้ารับราชการ เป็นกำลังของกระทรวงยุติธรรมหลายท่านด้วยกัน บางท่านเป็นอาจารย์สอนโรงเรียนกฎหมาย การตั้งโรงเรียนกฎหมาย และพระนิพนธ์ทางกฎหมาย ของพระองค์นั้นนับว่าเป็นรากฐาน ในการก่อตั้งการศึกษานิติศาสตร์ ขึ้นในประเทศไทย ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ อย่างยิ่งแก่ประเทศชาติ
ในปี พ.ศ. 2453 ขณะยังทรงดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ได้ทรงขอลาออกจากราชการ เนื่องจากทรงประชวรอยู่เสมอ จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ลาออกในปีนั้นเอง ต่อมาเมื่อ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ และได้ทรงมีพระบรมราชโองการ แต่งตั้งให้พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ เป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ และในปีนั้นเอง ทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ในระหว่างที่ทรงเป็น เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ได้ทรงจัดการแก้ไข และวางระเบียบการ ในกระทรวงให้ดียิ่งขึ้น คือ ทรงแก้ไข ระเบียบการของหอทะเบียนที่ดินทั้งหลาย ทั่วพระราชอาณาจักร โดยทรงจัดให้มี การประชุม นายทะเบียนเป็นครั้งคราว ทรงพัฒนาการออกโฉนกที่ดิน ซึ่งสมัยนั้นยังไม่มี และทรงทำนุบำรุงการเกษตร โดยเฉพาะเรื่อง การชลประทาน และการทดน้ำ นับว่าพระองค์ได้ทรงปฏิบัติราชการสำคัญ อันเป็นประโยชน์ แก่ประเทศชาติ และประชาชนอย่างยิ่ง
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2462 ทรงประชวรด้วยวัณโรคที่พระวักกะ (ไต) จึงได้ทรง กราบถวายบังคมลา ไปรักษาพระองค์ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2463 ได้ทรงสิ้นพระชนม์ เมื่อพระชนมายุเพียง 47 พรรษา
จากการที่ได้ทรง ทุ่มเทพพระวรกาย ศึกษาวิชาการทางกฎหมาย และทรงทำให้ ระบบกฎหมาย และศาลยุติธรรม ของประเทศไทยเจริญก้าวหน้า ทัดเทียมกับอนารยประเทศทั้งปวงนี้เอง ทำให้ประชาชน ต่างขนานพระนามว่า "พระบิดาแห่งกฎหมายไทย" และกำหนดให้วันที่ 7 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์ เป็น "วันรพี" เพื่อให้ บรรดานักกฎหมาย ได้มีโอกาส แสดงความระลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ด้วยการ วางพวงมาลา หน้าพระรูป และบำเพ็ญกุศลร่วมกัน ตลอดจน การจัดกิจกรรม ทางกฎหมาย ในหลายรูปแบบ เพื่อเผยแพร่ วิชาการกฎหมาย ให้กว้างขวางสู่ประชาชน สมดังพระประสงค์ ที่ต้องการให้ นักกฎหมายมีบทบาท ในการพัฒนาประเทศ โดยพัฒนากฎหมาย ให้ก้าวหน้า เหมาะสมแก่สภาพสังคม ที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย และใช้กฏหมาย เพื่อให้เกิด ความยุติธรรมแก่ประชาชน




 http://www.thaigoodview.com/library/contest2553/type1/social03/08/index.html

ลำดับชั้นของกฎหมายในประเทศไทย(ศักดิ์กฎหมาย)

          ลำดับชั้นของกฎหมายมีไว้เพื่อบ่งบอกถึงระดับสูงต่ำและความสำคัญของกฎหมายแต่ละประเภทรวมไปถึงภาพรวมของกฎหมายที่ใช้กัน กฎหมายที่มีลำดับชั้นต่ำกว่าจะมีผลยกเลิกหรือขัดต่อกฎหมายที่มีลำดับชั้นสูงกว่าไม่ได้ ซึ่งเราจัดลำดับได้ดังนี้


          1.กฎหมายแม่บทที่มีศักดิ์สูงที่สุด ได้แก่ รัฐธรรมนูญ


          รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ เป็นกฎหมายที่วางหลักเกณฑ์การปกครองและกำหนดโครงสร้างในการจัดตั้งองค์กรบริหารของรัฐ กำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชนรวมไปถึงให้ความคุ้มครองสิทธิและหน้าที่ดังกล่าว กฎหมายอื่นๆที่ออกมาจะต้องออกให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายใดที่ขัดกับรัฐธรรมนูญจะก็จะไม่มีผลใช้บังคับได้ เราอาจเปรียบเทียบอย่างง่ายๆโดยนึกไปถึงผู้ว่าจ้างคนหนึ่ง จ้างผู้รับจ้างให้ก่อสร้างบ้าน โดยให้หัวข้อมาว่าต้องการบ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรงมั่นคง รูปแบบบ้านเป็นทรงไทย ผู้รับจ้างก็ต้องทำการออกแบบและก่อสร้างให้โครงสร้างบ้านแข็งแรงและออกเป็นแบบทรงไทย ถ้าบ้านออกมาไม่ตรงตามที่ผู้ว่าจ้างต้องการ ก็อาจถือได้ว่าผู้รับจ้างผิดสัญญาได้ หัวข้อที่ผู้ว่าจ้างให้มาอาจเปรียบได้กับรัฐธรรมนูญ ซึ่งเพียงแต่กำหนดกฎเกณฑ์หรือรูปแบบเอาไว้เป็นแนวทางหรือเป้าหมาย ส่วนการออกแบบและการก่อสร้างอาจเปรียบได้กับกฎหมายอื่นๆที่ต้องออกมาให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ถ้าออกแบบมาหรือสร้างไม่ตรงกับความต้องการก็เปรียบเทียบได้กับการออกกฎหมายอื่นๆมาโดยไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ก็จะมีผลเป็นการผิดสัญญาหรืออาจเปรียบเทียบในทางกฎหมายได้ว่ากฎหมายนั้นๆใช้ไม่ได้


          2.กฎหมายที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจแก่ฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหารเป็นผู้ออก ได้แก่ ประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด กฎหมายเหล่านี้ถือว่ามีศักดิ์เป็นลำดับที่สองรองจากรัฐธรรมนูญ


          -ประมวลกฎหมาย คือเป็นการรวมรวบเอาหลักกฎหมายในเรื่องใหญ่ๆซึ่งเป็นเรื่องทั่วไปมาจัดเป็นหมวดหมู่ให้เป็นระเบียบ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและเพาณิชย์ ฯลฯ ประมวลกฎหมายต่างๆ ถือเป็นกฎหมายที่เป็นหลักทั่วๆไป ที่กล่าวถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคลแต่ละคน บุคคลในสังคมต้องประพฤติปฏิบัติตนอย่างไรและห้ามประพฤติปฏิบัติตนอย่างไรบ้าง และรวมไปถึงการให้ความคุ้มครองต่อสิทธิต่างๆของบุคคลแต่ละคนด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ต่างๆที่รัฐธรรมนูญวางไว้


          -พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง คือเป็นกฎหมายที่ออกมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใด เช่น พระราชบัญญัติล้มละลาย ก็จะเป็นเรื่องเฉพาะเกี่ยวกับการล้มละลาย หรือพระราชบัญญัติสัญชาติ ก็จะเกี่ยวข้องเฉพาะกับเรื่องสัญชาติของบุคคล ฯลฯ ซึ่งพระราชบัญญัตินี้จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับฝ่ายบริหารหรือก็คือรัฐบาลค่อนข้างมาก เพราะฝ่ายบริหารจะเป็นผู้กำหนดนโยบายในการบริหารประเทศ และเสนอกฎหมายเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายนั้นๆให้สภานิติบัญญัติทำการออกนั่นเองและกฎหมายที่ออกมานั้นแม้จะมีการเปลี่ยนฝ่ายบริหารหรือฝ่ายรัฐบาลแล้ว ก็จะมีผลใช้บังคับอยู่ จนกว่ากฎหมายนั้นจะถูกยกเลิกหรือมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง


          -พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารหรือก็คือรัฐบาล เป็นกฎหมายที่ออกใช้ไปพลางก่อนในกรณีที่มีจำเป็นเร่งด่วน หลังจากมีการใช้ไปพลางก่อนแล้ว ในภายหลังพระราชกำหนดนั้นก็อาจกลายเป็นพระราชบัญญัติซึ่งจะมีผลบังคับเป็นการถาวรได้ ถ้าสภานิติบัญญัติให้การอนุมัติ แต่ถ้าสภาไม่อนุมัติพระราชกำหนดนั้นก็ตกไป แต่จะไม่ทระทบกระเทือนถึงกิจการที่ได้กระทำไปในระหว่างใช้พระราชกำหนดนั้น ซึ่งพระราชกำหนดจะออกได้เฉพาะกรณีต่อไปนี้เท่านั้น คือ กรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อรักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือเพื่อรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือเพื่อจะป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ หรือมีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตรา


          3.กฎหมายที่ฝ่ายบริหารเป็นผู้ออก ได้แก่ พะราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง


          (ก).พระราชกฤษฎีกาเป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร ซึ่งจะออกได้เฉพาะในกรณีต่อไปนี้คือ


          -รัฐธรรมนูญกำหนดให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาในกิจการอันสำคัญที่เกี่ยวกับฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ฯลฯ


          -โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายแม่บทซึ่งก็คือ พระราชบัญญัติ หรือ พระราชกำหนด คือจะต้องมีพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดให้อำนาจในการออกไว้ เช่น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากร พ.ศ. 2528 กำหนดว่าหากจะเปิดศาลภาษีอากรจังหวัดเมื่อใด ต้องประกาศโดยพระราชกฤษฎีกา ฯลฯ ด้วยการที่พระราชกฤษฎีกาเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าพระราชบัญญัติและพระราชกำหนด ดังนั้นจะออกมาขัดกับพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทนั้นไม่ได้


          -กรณีที่จำเป็นอื่นๆในเรื่องใดก็ได้ แต่ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย


          (ข).กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีแต่ละกระทรวงเป็นผู้ออก โดยอาศัยอำนาจจากกฎหมายแม่บทซึ่งก็คือพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดฉบับใดฉบับหนึ่ง เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายนั้นๆ พระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดจะกำหนดกฎเกณฑ์กว้างๆเอาไว้ ส่วนกฎกระทรวงก็จะมากำหนดรายละเอียดอีกชั้นหนึ่ง เช่น ในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ได้กำหนดว่า ในกรณีที่ใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของบุคคลใดเพื่อขายทอดตลาด ผู้ที่มีอำนาจสั่งให้ยึด อายัดหรือขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้น ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง เราก็ต้องไปศึกษาในกฎกระทรวงอีกชั้นหนึ่งว่าผู้ที่มีอำนาจสั่งนั้นคือใครบ้าง ฯลฯ


          4.กฎหมายที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ออก ได้แก่ เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบังคับสุขาภิบาล ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติเมืองพัทยา


          เป็นกฎหมายที่ออกมาใช้บังคับโดยเฉพาะในแต่ละองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เป็นไปตามหน้าที่ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น หรือในกรณีที่กฎหมายให้อำนาจไว้ก็ทำการออกได้เช่นกัน เช่น ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เป็นกฎหมายที่กรุงเทพมหานครตราขึ้นเพื่อใช้บังคับในเขตกรุงเทพมหานครเท่านั้น  หรือเทศบัญญัติ ก็เป็นกฎหมายที่เทศบาลบัญญัติขึ้นใช้บังคับเฉพาะในเขตเทศบาลของตน


http://www.lawsiam.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=32

อนุญาโตตุลาการ (arbitration)

         อนุญาโตตุลาการ (arbitration) คือกระบวนการระงับข้อพิพาททางแพ่ง ถือเป็นทางเลือกในการระงับข้อพิพาทนอกเหนือจากการนำคดีเข้าสู่กระบวบการตุลาการ หรือการนำคดีขึ้นสู่ศาล (Alternative Dispute Resolution or ADR)ในกรณีปกติ ข้อพิพาทหรือคดีความย่อมขึ้นสู่ศาล แต่สำหรับกรณีข้อพิพาททางแพ่ง เช่น เรื่องการผิดสัญญา การค้าขายคู่กรณีสามารถมีข้อตกลงให้ใช้วิธีการระงับข้อพิพาทโดยอาศัยการตัดสินของผู้ทรงคุณวุฒิอันคู่กรณีเป็นผู้เลือกได้ ผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวเรียกว่า อนุญาโตตุลาการ โดยปกติจะประกอบด้วยบุคคลสามคน (Tribunal) อนุญาโตตุลาการสองคนแรกนั้นได้รับการแต่งตั้งโดยคู่กรณีแต่ละฝ่าย และจากนั้นอนุญาโตตุลาการทั้งสองคนจะตกลงเลือกอนุญาโตตุลาการคนที่สามเพื่อให้เกิดความเป็นกลางเมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้น อนุญาโตตุลาการจะทำหน้าที่วินิจฉัยข้อพิพาทเสมือนศาลแต่มิได้เป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการประหนึ่งศาลแต่อย่างใด กล่าวคือเมื่ออนุญาโตตุลาการได้พิจารณาข้อพิพาทและมีคำตัดสิน (Award) เพื่อระงับข้อพิพาทแล้ว เช่นให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งชดใช้ค่าเสียหายให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง อำนาจของอนุญาโตตุลาการก็สิ้นสุดแต่เพียงเท่านั้น หากไม่มีการชดใช้ค่าเสียหายตามคำตัดสิน อนุญาโตตุลาการมิได้มีอำนาจไปบังคับหรือปรับหรือลงโทษผู้ไม่ทำตามแต่อย่างใดสิ่งที่ทำให้การระงับข้อพิพาทมีผลบังคับก็คือการนำคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการไปร้องต่อศาล เมื่อศาลพิจารณาและเห็นว่าคำตัดสินเป็นผลจากการตกลงยินยอมของคู่กรณีเพื่อระงับข้อพิพาท ศาลย่อมสามารถใช้อำนาจตุลาการบังคับให้ต้องปฏิบัติตามคำตัดสินนั้น


http://www.learners.in.th/blogs/posts/50010

กฎหมายกับธุรกิจ

ความหมายของคำว่าธุรกิจ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานให้คำนิยามคำว่าธุรกิจว่า การงานประจำที่เกี่ยวกับอาชีพค้าขายหรือกิจการอย่างอื่นที่สำคัญและที่ไม่ใช่ราชการธุรกิจอาจหมายความรวมถึงกิจกรรมต่างๆที่กระทำกันทั่วไปหรือหมายความถึงกิจกรรมของมนุษย์ที่กระทำขึ้นเพื่อการผลิตหรือได้มาซึ่งทรัพย์บริการ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นกิจกรรมที่หวังผลกำไร อย่างเช่นการธนาคาร,การขนส่ง,การก่อสร้าง,การทำเหมืองหรือโรงงานผลิตสิ่งของต่างๆหรือกิจกรรมที่มีการแลกเปลี่ยนต่างๆเช่นการจ่ายค่าน้ำมันเติมรถยนต์,การจ่ายค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น การประกอบธุรกิจจึงหมายถึง การกระทำกิจกรรมของมนุษย์ที่กระทำขึ้นเพื่อการผลิต หรือได้มาซึ่งทรัพย์ หรือบริการ และการนำสินค้าหรือบริการนั้นไปขายหรือจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคเพื่อแสวงหาผลกำไร ซึ่งปัจจุบันธุรกิจแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ธุรกิจการผลิต,ธุรกิจบริการ,และธุรกิจคนกลางทางการตลาด ซึ่งธุรกิจการผลิตก็หมายถึง เช่นอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ อุตสาหกรรมอาหารและผลไม้แปรรูป อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและเสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น ส่วนธุรกิจบริการ เช่น ธุรกิจการเงิน การธนาคาร หลักทรัพย์ ประกันภัย การท่องเที่ยวการโรงแรม เป็นต้น ส่วนธุรกิจคนกลางทางตลาดก็อย่างเช่น ธุรกิจขายปลีก ขายส่ง เป็นต้น ในการดำเนินชีวิตในหลายรูปแบบได้ถูกตีกรอบไว้ด้วยกฎหมาย เนื่องจาก กฎหมายมีส่วนเกี่ยวพันกับผู้คนในสังคม การดำเนินธุรกิจก็ไม่สามารถอยู่นอกเหนือกฎเกณฑ์นี้ได้ อย่างไรก็ตามผู้คนส่วนใหญ่มักไม่ค่อยเข้าใจถึงคำนิยามของกฎหมายอย่างถูกต้องและเป็นทางการ เพียงแต่เข้าใจว่ากฎหมายเป็นตัวแห่งกฎ หรือเป็นกฎที่ได้วางไว้แล้วและใช้บังคับกับผู้คนในสังคม การที่กฎหมายเข้าไปเกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจและมีความสำคัญ เพราะกฎหมายเป็นเครื่องมือพื้นฐานของสังคมที่ส่งเสริมและควบคุมความเป็นระเบียบต่างๆในสังคม รวมทั้งความเป็นระเบียบทางเศรษฐกิจของสังคม ในการรักษาความสงบสุขและความเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยการเข้าไปควบคุมกิจกรรมต่างๆขอองประชาชนหรือองค์กรต่างๆที่ประกอบธุรกิจ เพื่อให้การประกอบธุรกิจเป็นประโยชน์ต่อสังคม และการช่วยการส่งเสริมการประกอบธุรกิจด้วย

http://www.learners.in.th/blogs/posts/46328

การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์


1.การใช้ Username และ Password ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


2.การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น เช่น การนำข้อมูลการลงทะเบียนหรือ ข้อมูลอื่น ๆไปเผยแพร่จนก่อใหเกิดความเสียหาย จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


3.ล้วงข้อมูลคอมพิวเตอร์จากระบบของผู้อื่น จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


4.ลักลอบดักฟัง ตรวจสอบ หรือติดตามเนื้อหาสาระของข่าวสารส่วนตัวที่สื่อสารระหว่างบุคคล จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


5. ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือ เพิ่มเติม ไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วนในข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น เช่น ส่งไวรัสเข้าระบบจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


6.ส่ง e-mail รบกวนคนอื่นโดยไม่บอกแหล่งที่มา (Spam Mail) ปรับไม่เกิน 100,000 บาท


7. สร้างความเสียหายต่อข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับความ มั่งคงของประเทศ จำคุก 3-15 ปี หรือปรับ 60,000 - 300,000 บาท หากทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายต้องจำคุก 10 -20 ปี


8.ขายซอฟท์แวร์สนับสนุนการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ (hacking) จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- จะมีกฎกระทรวงแจ้งว่าเป็นโปรแกรมใดบ้าง


9.เผยแพร่ภาพ หรือ เนื้อหา ลามกอนาจารเข้าระบบคอมพิวเตอร์ ทาง e-mail หรือแผ่นดิสก์ หรือ สั่งพิมพ์ จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


10.เจ้าของเว็บไซท์ที่สนับสนุนการกระทำในข้อ 9 จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตัดต่อ ดัดแปลงภาพ ทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง หรือได้รับความอับอาย ถือว่าเป็นความผิดฐานดูหมิ่น หรือหมิ่นประมาท จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่สามารถยอมความกันได้


12.คนไทยทำความผิด สร้างความเสียหาย แต่อยู่ต่างประเทศ จะต้องรับโทษในไทย


13.ต่างชาติทำผิดอยู่ต่างประเทศ คนไทย หรือรัฐบาลไทย สามารถเรียกร้องเอาความผิดได้ และรับโทษในไทย

กฎหมายพาณิชยนาวีคืออะไร

กฎหมายพาณิชยนาวีคืออะไร             หากดูคำว่า “พาณิชยนาวี” แล้วจะเห็นได้ว่าประกอบด้วยคำสองคำ ได้แก่คำว่า “พาณิชย์” และคำว่า “นาวี” ซึ่งหากแปลความหมายตรงๆ แล้วก็คงหมายถึงการค้าทางทะเล ซึ่งหากนำมาประกอบกับคำว่า “กฎหมาย” แล้ว ความหมายของคำดังกล่าวก็น่าจะถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าทางทะเล อย่างไรก็ตาม หากพิจารณากิจกรรมทางพาณิชยนาวีในปัจจุบันแล้วจะเห็นได้ว่า กฎหมายพาณิชยนาวีไม่ได้ครอบคลุมเฉพาะการค้าทางทะเลเท่านั้น คำว่า “กฎหมายพาณิชยนาวี” มีที่มาจากภาษาอังกฤษว่า maritime law ซึ่ง Black’s Law Dictionary ได้อธิบายไว้สรุปสาระสำคัญได้ว่าเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าทางทะเล การเดินเรือและกิจการทางทะเล (marine affairs) รวมถึงการกระทำละเมิดและข้อพิพาททางแพ่งสืบเนื่องจากกิจการทางทะเล และการใช้อำนาจของรัฐในการกักเรือไว้ด้วย ในสมัยโบราณกฎหมายพาณิชยนาวีจะครอบคลุมเพียงกิจกรรมพาณิชยที่ดำเนินการในทะเลหรือเกี่ยวเนื่องกับทะเล เช่น การรับขนของทางทะเล การเฉลี่ยความเสียหายทั่วไป หรือการประกันภัยทางทะเล ซึ่งเป็นกิจกรรมระหว่างเอกชนกับเอกชน ทั้งนี้เนื่องจากกฎหมายพาณิชยนาวีในสมัยก่อนถือว่าเป็นกฎหมายของพ่อค้า (lex mercatoria หรือ merchant law) ซึ่งมีที่มาจากข้อตกลงและแนวทางปฏิบัติของบรรดาพ่อค้าในยุคกลางของทวีปยุโรปที่กำหนดธรรมเนียมปฏิบัติในเมืองท่าการค้าไว้เป็นแนวทางเดียวกันจนกระทั่งมีการยอมรับเป็นที่แพร่หลาย และต่อมาได้คลี่คลายเป็นกฎหมายพาณิชยนาวีที่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ในสมัยหลังก็ได้มีการยอมรับว่ากฎหมายหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ เกี่ยวเนื่องกับการใช้อำนาจของรัฐที่อยู่ในสถานะที่เหนือกว่าต่อเอกชนซึ่งเป็นคนชาติของตนเองหรือคนชาติของรัฐอื่นที่เข้ามาในเขตอำนาจของรัฐนั้นๆ ก็อยู่ในขอบข่ายของกฎหมายพาณิชยนาวีด้วยเช่นกัน ทั้งนี้อาจแบ่งประเภทของกฎหมายพาณิชยนาวีออกตามลักษณะการใช้บังคับกฎหมายดังต่อไปนี้                กฎหมายพาณิชยนาวีภาคมหาชน กฎหมายพาณิชยนาวีประเภทนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน (ไม่ว่าจะเป็นเอกชนของรัฐนั้นหรือของรัฐอื่น) โดยที่รัฐจะอยู่ในสถานะที่เหนือกว่าเอกชน และบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวแก่เอกชนเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ ซึ่งหากเอกชนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ก็จะต้องรับโทษ ตัวอย่างของกฎหมายประเภทนี้ได้แก่กฎหมายเกี่ยวกับสัญชาติของเรือ การเดินเรือ การทิ้งของลงจากเรือซึ่งทำให้เกิดมลภาวะในทะเล หรือกฎหมายที่กำหนดให้มีการขึ้นทะเบียนกิจกรรมทางพาณิชยนาวีต่างๆ             กฎหมายพาณิชยนาวีภาคเอกชน เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน หรือระหว่างเอกชนด้วยกันเองโดยทั้งสองฝ่ายมีสถานะเท่าเทียมกัน ซึ่งสิทธิทางแพ่งและทางพาณิชย์ระหว่างกันอาจเกิดขึ้นได้จากนิติกรรม (เช่น สัญญารับขนของทางทะเล) หรือเกิดขึ้นจากนิติเหตุ (เช่น ความรับผิดทางแพ่งจากเรือโดนกัน หรือการเฉลี่ยความเสียหายทั่วไป) เมื่อเกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างกันแล้วคู่กรณีก็จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงหรือกฎหมาย และสามารถใช้เรียกร้องให้คู่กรณีอีกฝ่ายปฏิบัติตามพันธกรณีหรือตามกฎหมายที่บัญญัติได้ เมื่อพิจารณาจากลักษณะของกฎหมายพาณิชยนาวีดังที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้วจะเห็นได้ว่า กฎหมายพาณิชยนาวีนั้นไม่ได้หมายถึงกฎหมายที่ใช้บังคับเฉพาะกิจกรรมทางพาณิชย์เท่านั้น แต่ครอบคลุมถึงการใช้อำนาจของรัฐเพื่อประโยชน์สาธารณะเกี่ยวกับกิจกรรมพาณิชย์ที่เกี่ยวเนื่องกับทะเลด้วย

วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555

กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน

กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน หมายถึง กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการใช้แรงงานและการจ่ายค่าตอบแทนในการทำงาน ทั้งนี้ เพื่อให้ลูกจ้างทำงานด้านความปลอดภัย มีสุขภาพอนามัยดี ได้รับค่าตอบแทนและสวัสดิการตามสมควร


กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ เป็นกฎหมายที่กำหนดแนวทางปฏิบัติต่อกันระหว่างบุคคลสองฝ่าย คือ ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง เพื่อให้บุคคลทั้งสองฝ่ายได้มีความเข้าใจอันดีต่อกัน สามารถตกลงในเรื่องสิทธิหน้าที่ และผลประโยชน์ในการทำงานร่วมกันได้รวมทั้งกำหนดวิธีการระงับข้อขัดแย้งหรือ ข้อพิพาทแรงงานที่เกิดขึ้น
ให้ยุติลงโดยรวดเร็ว ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสงบสุข ในสถานประกอบกิจการ ซึ่งจะส่งผลถึงเศรษฐกิจและความมั่นคง
ของประเทศ


กฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กฎหมายดังกล่าวคือ พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
พ.ศ. 2534 เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและแรงงานสัมพันธ์ในภาครัฐวิสาหกิจ
เป็นการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ซึ่งไม่น้อยกว่ามาตรฐานขั้นต่ำตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน


กฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน เป็นการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำให้สถานประกอบกิจการถือปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยที่ดีปราศจากอุบัติเหตุ และโรคเนื่องจากการทำงาน


"ประกาศหรือคำสั่งของกระทรวงแรง งาน และประกาศหรือคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงานที่ออกตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2515 ให้ยังคงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ทั้งนี้จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ระเบียบและประกาศ ที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ"


"พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มีสาระสำคัญดังนี้"


1. วันทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 6 วัน


2 . กำหนดเวลาทำงานปกติในทุกประเภทไม่เกิน 8 ชั่วโมง / วัน หรือไม่เกิน 48 ชั่วโมง / สัปดาห์
ถ้าเป็นการทำงานอันตรายต่อสุขภาพตามกฏกระทรวง กำหนดให้ทำงานไม่เกิน 7 ชั่วโมง / วัน หรือไม่เกิน 42 ชั่วโมง/สัปดาห์


3 . กำหนดเวลาพักระหว่างวันทำงาน ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง อาจตกลงพักน้อยกว่าครั้งละ 1 ชั่วโมงก็ได้ แต่รวมกันไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง / วัน


4 . กำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 วัน ห่างกันไม่เกิน 6 วัน และวันหยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน รวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย สำหรับวันหยุดผักผ่อนประจำปี ไม่น้อยกว่า 6 วันทำการ เมื่อลูกจ้างทำงานครบ 1 ปี


1. อัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัดภูเก็ตคือ 181 บาท/วัน


2. ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุด


    * ทำเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ได้รับค่าล่วงเวลา 1.5 เท่าของอัตราค่าจ้าง/ชั่วโมง
    * ทำงานในวันหยุดในเวลาปกติ / สำหรับวันหยุดที่ได้ค่าจ้างจะได้รับเพิ่มอีก 1 เท่า ในวันหยุดที่ไม่ได้รับค่าจ้างจะได้รับเพิ่มเป็น 2 เท่าของค่าจ้างในวันทำงาน
    * ทำงานล่วงเวลาในวันหยุด ได้รับค่าล่วงเวลาในวันหยุดไม่น้อยกว่า 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง ในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ


3. ลูกจ้างทั้งชายและหญิง มีสิทธิได้รับค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เท่าเทียมกันในงานที่มีลักษณะและคุณภาพอย่างเดียวกันและปริมาณเท่ากัน


1. ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง แต่ได้รับค่าจ้างไม่เกิน 30 วันทำงาน


2. ลาคลอดได้ไม่เกิน 90 วัน โดยได้รับค่าจ้าง 45 วัน


3. ลาเพื่อรับราชการทหาร ได้ไม่เกินปีละ 60 วัน โดยได้รับค่าจ้าง


4. ลาเพื่อทำหมันได้รับค่าจ้างตลอดเวลาที่แพทย์วินิจฉัยให้หยุด


5. ลากิจธุระ อันจำเป็น แล้วแต่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน


6. ลาเพื่อเข้ารับการอบรม


วันหยุด


1. วันหยุดประจำสัปดาห์ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน สำหรับลูกจ้างรายวันไม่ได้รับค่าจ้าง


2. วันหยุดตามประเพณี อย่างน้อยปีละ 13 วัน (รวมวันแรงงานแห่งชาติแล้ว) โดยได้รับค่าจ้าง


3. วันหยุดพักผ่อนประจำปี ปีละ 6 วันทำงาน โดยได้รับค่าจ้าง ซึ่งนายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าว




1. ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย หากนายจ้างเลิกจ้าง โดยลูกจ้างไม่มีความผิดดังนี้


1) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วันแต่ไม่ครบ 1 ปี มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
2) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปีแต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
3) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปี มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
4) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6 ปีแต่ไม่ครบ 10 ปี มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน
5) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน


2. กรณีย้ายสถานประกอบการ นายจ้างต้องแจ้งให้แก่ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่เกิน 30 วัน หากลูกจ้างไม่ต้องการไปทำงานด้วย ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญา โดยได้รับค่าชดเชยพิเศษ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ


3. ค่าชดเชยพิเศษ ในกรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุปรับปรุงหน่วยงานกระบวนการผลิต
การจำหน่ายหรือการบริการ อันเนื่องมาจากการนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือเทคโนโลยี
หากนายจ้าง ไม่แจ้งล่วงหน้าหรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่าระยะเวลา 60 วันนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษดังนี้


1) ลูกจ้างจะได้รับค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 60 วัน
2) ลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชยตามกฏหมาย
3) ลูกจ้างที่มีอายุงาน 6 ปีขึ้นไป มีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษปีละ 15 วัน เมื่อรวมค่าชดเชยทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 360 วัน


นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน
หนังสือเตือนให้มีผลบังคับใช้ได้ไม่เกินหนึ่งปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีสาเหตุอันสมควร
(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่เป็นนักโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ


1. ห้ามใช้แรงงานเด็ก อายุต่ำกว่า 15 ปีทำงานโดยเด็ดขาด


2. ห้ามใช้แรงงานเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ในกิจการบางประเภท และทำงานระหว่างเวลา 22.00 น. - 06.00 น. ทำงานวันหยุดและทำงานล่วงเวลา


3. ห้ามใช้แรงงานเด็กในสถานที่ เต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง และตามที่กำหนดในกฏหมาย


4. ให้ลูกจ้างเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี มีสิทธิลาเพื่อรับการอบรม สัมมนา ที่จัดโดยสถานศึกษา หรือหน่วยงานของรัฐ โดยได้รับค่าจ้างแต่ไม่เกิน 30 วันต่อปี


5. การว่าจ้างแรงงานเด็กต่ำกว่า 18 ปี ต้องแจ้งพนักงานตรวจแรงงานภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่เด็กเข้าทำงาน
1. การใช้แรงงานหญิง ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงทำงานต่อไปนี้


    * งานเหมืองแร่หรืองานก่อสร้างที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือปล่องในภูเขาเว้นแต่ลักษณะของงาน ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือ ร่างกายของลูกจ้างหญิงนั้น
    * งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป
    * งานผลิตหรือขนส่งวัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟ
    * งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง


2. ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงที่มีครรภ์ทำงานในระหว่างเวลา 22.00น.-06.00น. ทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุดหรือทำงานอย่างหนึ่งอย่างใด


3. ห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างหญิงเพราะเหตุมีครรภ์


4. ให้แรงงานหญิงมีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตร ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน


5. ห้ามนายจ้าง หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงานหรือผู้ตรวจงาน ล่วงเกินทางเพศต่อแรงงานหญิง หรือเด็ก
1. ให้นายจ้างหรือสถานประกอบการที่มีลูกจ้างน้อยกว่า 50 คน ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในการทำงาน ระดับพื้นฐาน ระดับหัวหน้างาน และระดับบริหาร เพื่อดูแลความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบการร่วมกับนายจ้าง


2. การกำหนดให้นายจ้างหรือสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คน ขึ้นไป ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงานระดับหัวหน้างาน ระดับบริหาร และระดับวิชาชีพ


3. กำหนดให้สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานประกอบด้วย นายจ้าง ผู้แทนระดบับังคับบัญชา ผู้แทนลูกจ้างระดับปฏิบัติการ และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน โดยมีคณะกรรมการ ตามขนาดของสถานประกอบการ


4. การให้ความคุ้มครองอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับสภาพงานและได้มาตรฐานโดยให้นายจ้างเป็นผู้จัดให้ อาทิ ตามที่กำหนดในกฏกระทรวง ให้นายจ้างต้องจัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยสาวนบุคคลให้ลูกจ้างตามลักษณะของงาน และลูกจ้างต้องสวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าวตลอดเวลาการทำงานโดยบังคับ

มูลมังอีสาน

สำบายดีเด้อครับ ยินดีที่ได้รู้จัก

หลักกฎหมายอาญา

 กฎหมายอาญา
1. กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันสังคมให้เกิดความสงบเรียบร้อย โดยกำหนดว่าการกระทำใดเป็นความผิดอาญาและกำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืน
                    2. ลักษณะที่สำคัญของกฎหมายอาญา คือเป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้งและไม่มีผลบังคับย้อนหลังที่เป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิด
                    3. โทษทางอาญามี 5 ชนิด คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับและริบทรัพย์สิน4. การกระทำความผิดทางอาญามีบางกรณีที่กฎหมายยกเว้นโทษและยกเว้นความผิด
                    5. เด็กและเยาวชนกระทำความผิดอาจได้รับโทษต่างกับการกระทำความผิดของผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กและเยาวชนเป็นผู้อ่อนเยาว์ ปราศจากความรู้สึกรับผิดชอบ การลงโทษต้องคำนึงถึงอายุของเด็กกระทำความผิด

                กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่ว่าด้วยความผิดและโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิด ตัวบทที่สำคัญๆ ของกฎหมายอาญาก็คือ ประมวลกฎหมายอาญา นอกจากประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ยังมีพระราชบัญญัติอื่นๆที่กำหนดโทษทางอาญาสำหรับการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินั้น เช่น พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พระราชบัญญัติการพนัน เป็นต้น
                ทุกสังคมย่อมมีกฎเกณฑ์ ข้อบังคับความประพฤติของสมาชิกในสังคมนั้นๆ บุคคลใดมีการกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ จัดเป็นการกระทำความผิดทางอาญา ดังนั้นกฎหมายอาญาจึงเป็นกฎหมายซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการป้องกันสังคม เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยโดยการกำหนดว่า การกระทำใดเป็นความผิดอาญาและได้กำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืน กระทำความผิดนั้นๆ

1. ความผิดทางอาญา
                ความผิดทางอาญา คือ การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศ   เมื่อบุคคลใดกระทำความผิดทางอาญา จะต้องได้รับโทษตามกฎหมายมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของการกระทำความผิด กฎหมายมิได้ถือว่าการกระทำความผิดทุกอย่างร้ายแรงเท่าเทียมกัน การลงโทษผู้กระทำความผิดจึงขึ้นอยู่กับการกระทำ และสังคมมีความรู้สึกต่อการกระทำนั้นๆ ว่า อะไรเป็นปัญหาสำคัญมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจจะแบ่งการกระทำความผิดอาญาออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
                1.1 ความผิดต่อแผ่นดิน หมายถึง ความผิดในทางอาญา ซึ่งนอกจากเรื่องนั้นจะมีผลต่อตัวผู้รับผลร้ายแล้ว ยังมีผลกระทบที่เสียหายต่อสังคมอีกด้วย และรัฐจำเป็นต้องป้องกันสังคมเอาไว้ด้วยการยื่นมือเข้ามาเป็นผู้เสียหายเอง ดังนั้นแม้ผู้รับผลร้ายจากการกระทำโดยตรงจะไม่ติดใจเอาความ แต่ก็ยังต้องเข้าไปดำเนินคดีฟ้องร้องเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้
                กรณีตัวอย่างที่ 1 นายมังคุดทะเลาะกับนายทุเรียน นายมังคุดบันดาลโทสะใช้ไม้ตีศีรษะนายทุเรียนแตก นายทุเรียนไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ดำเนินคดีกับนายมังคุดในข้อหาทำร้ายร่างกายผู้อื่น ต่อมานายทุเรียนหายโกรธนายมังคุดก็ไม่ติดใจเอาเรื่องกับนายมังคุด แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องดำเนินคดีกับนายทุเรียนต่อไปเพราะเป็นความผิดต่อแผ่นดิน
                กรณีตัวอย่างที่ 2 นายแตงโมขับรถยนต์ด้วยความประมาทไปชนเด็กชายแตงไทยถึงแก่ความตายเป็นความผิดอาญาฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต่อมานายแตงกวาและนางแต่งอ่อนบิดามารดาของเด็กชายแตงไทย ได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากนายแตงโมเป็นเงิน 200,000 บาทแล้ว จึงไม่ติดใจเอาความกับนายแตงโม แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องดำเนินคดีกับนายแตงโมต่อไป เพราะความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายเป็นความผิดต่อแผ่นดิน
                1.2 ความผิดอันยอมความกันได้ หมายถึง ความผิดในทางอาญาซึ่งไม่ได้มีผลร้ายกระทบต่อสังคมโดยตรง หากตัวผู้รับผลร้ายไม่ติดใจเอาความแล้ว รัฐก็ไม่อาจยื่นมือเข้าไปดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้ และถึงแม้จะดำเนินคดีไปแล้ว เมื่อตัวผู้เสียหายพอใจยุติคดีเพียงใดก็ย่อมทำได้ด้วยการถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความ เช่น ความผิดฐานหมิ่นประมาท ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ เป็นต้น
                กรณีตัวอย่างที่ 1 นายโก๋และนางกี๋ลักลอบได้เสียกัน นายแฉแอบเห็นเข้า จึงได้นำความไปเล่าให้นายเชยผู้เป็นเพื่อนฟัง การกระทำของนายแฉมีความผิดฐานหมิ่นประมาท เมื่อนายโก๋และนางกี๋รู้เข้าจึงไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ นายแฉไปหานายโก๋และนางกี๋  เพื่อขอขมานายโก๋และนางกี๋จึงถอนคำร้องทุกข์ดังนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีกับนายแฉอีกต่อไป ถือว่าเป็นความผิดอันยอมความกันได้
                กรณีตัวอย่างที่ 2 นายตำลึงล่ามโซ่ใส่กุญแจประตูใหญ่บ้านของนายมะกรูด ทำให้นายมะกรูดออกจากบริเวณบ้านไม่ได้ นายมะกรูดต้องปีนกำแพงรั้งกระโดลงมา การกระทำของนายตำลึงเป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้ปราศจากเสรีภาพ นายมะกรูดจึงไปแจ้งความยังสถานีตำรวจ นายตำลึงได้ไปหานายมะกรูดยอมรับความผิด และขอร้องไม่ให้นายตำลึงเอาความกับตนเอง นายตำลึงเห็นใจจึงไปถอนคำร้องทุกข์ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะดำเนินคดีต่อไปอีกไม่ได้เพราะเป็นความผิดอันยอมความกันได้

2. ลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญา
                2.1 เป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้ง ในขณะกระทำความผิดต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้แล้วอย่างชัดแจ้งว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด เจ้าหน้าที่ผู้ใช้กฎหมายจะสร้างกฎหมายใหม่ขึ้นมาใช้บังคับแก่ประชาชนคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะไม่ได้ เช่น กฎหมายบัญญัติว่า “การลักทรัพย์เป็นความผิด” ดังนั้น ผู้ใดลักทรัพย์ก็ย่อมมีความผิดเช่นเดียวกัน
                2.2 เป็นกฎหมายที่ไม่มีผลย้อนหลัง เป็นโทษไม่ได้แต่เป็นคุณได้ ถ้าหากในขณะที่มีการกระทำสิ่งใดยังไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด แม้ต่อมาภายหลังจะมีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำอย่างเดียวกันนั้นเป็นความผิด ก็จะนำกฎหมายใหม่ใช้กับผู้กระทำผิดคนแรกไม่ได้
                กรณีตัวอย่าง นายมะม่วงมีต้นไม้สักขนาดใหญ่ซึ่งขึ้นในที่ดิน ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของเขา นายมะม่วงได้ตัดต้นสัก เลื่อยแปรรูปเก็บเอาไว้ ก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติป่าไม้ ฉบับที่ 3 ออกมาบังคับใช้ ถือว่าไม้สักเป็นไม้หวงห้ามก็ตาม นายมะม่วงก็ไม่มีความผิด เพราะจะใช้กฎหมายใหม่ย้อนหลังลงโทษทางอาญาไม่ได้

3. โทษทางอาญา
                1) ประหารชีวิต คือ นำตัวไปยิงด้วยปืนให้ตาย
                2) จำคุก คือ นำตัวไปขังไว้ที่เรือนจำ
                3) กักขัง คือนำตัวไปขังไว้ ณ ที่อื่น ที่ไม่ใช่เรือนจำ เช่น นำไปขังไว้ที่สถานีตำรวจ
                4) ปรับ คือ นำค่าปรับซึ่งเป็นเงินไปชำระให้แก่เจ้าพนักงาน
                5) ริบทรัพย์สิน คือ ริบเอาทรัพย์สินนั้นเป็นของหลวง เช่น ปืนเถื่อน ให้ริบ ฯลฯ

4. บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาและได้รับโทษทางอาญาเมื่อใด
                บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาต่อเมื่อ
                4.1 กระทำโดยเจตนา คือ การกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
                กรณีตัวอย่างที่ 1 นายฟักรู้ว่านายแฟง ซึ่งเป็นศัตรูจะต้องเดินผ่านสะพานข้ามคลองหลังวัดสันติธรรมทุกเช้าเวลาประมาณ 08.00 น. เขาจึงไปดักซุ่มอยู่ใกล้บริเวณนั้น เมื่อนายแฟงเดินมาใกล้นายฟักจึงใช้ปืนยิงไปที่นายแฟง 1 นัด กระสุนปืนถูกบริเวณหน้าอกของนายแฟง เป็นเหตุให้นายแฟงถึงแก่ความตาย นายฟักมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา
                กรณีตัวอย่างที่ 2 ดาวเรืองทะเลาะกับบานชื่น ดาวเรืองพูดเถียงสู้บานชื่นไม่ได้ ดาวเรืองจึงตบปากบานชื่น 1 ที่ ดาวเรืองมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายโดยเจตนา
                4.2 กระทำโดยไม่เจตนา แต่ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยแจ้งชัดให้รับผิดแม้กระทำโดยไม่เจตนากระทำโดยไม่เจตนา คือ ผู้กระทำไม่ได้ประสงค์ต่อผล หรือไม่อาจเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้ เช่น เราผลักเพื่อนเพียงจะหยอกล้อเท่านั้น แต่บังเอิญเพื่อนล้มลงไป ศีรษะฟาดขอบถนนถึงแก่ความตาย เป็นต้น
                4.3 กระทำโดยประมาท แต่ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาทการกระทำโดยประมาท คือ การกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านี้ได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
                กรณีตัวอย่าง นายเหิรฟ้าใช้อาวุธปืนขู่นายเหิรลม เพื่อไม่ให้เอาแป้งมาป้ายหน้านายเหิรฟ้า โดยที่นายเหิรฟ้าไม่รู้ว่าอาวุธปืนกระบอกนั้น มีลูกกระสุนปืนบรรจุอยู่ เป็นเหตุให้กระสุนปืนลั่นไปถูกนายเหิรลมตาม นายเหิรฟ้ามีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
                อนึ่ง “การกระทำ” ไม่ได้หมายความเฉพาะถึงการลงมือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น แต่หมายความรวมถึงการงดเว้นการกระทำโดยประสงค์ให้เกิดผลและเล็งเห็นผลที่จะเกิดเช่น แม่จงใจทิ้งลูกไม่ให้กินข้าว จนทำให้ลูกตาย ตามกฎหมายแม่มีหน้าที่จะต้องเลี้ยงดูลูก เมื่อแม่ละเลยไม่ทำหน้าที่ดังกล่าวจึงเป็นเหตุให้ลูกตาย ย่อมเป็นการกระทำความผิดโดยงดเว้น ถ้าการงดเว้นนั้นมีเจตนางดเว้นก็ต้องรับผิดในฐานะกระทำโดยเจตนา ถือว่าเป็นความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา

บุคคลจะต้องได้รับโทษทางอาญาต่อเมื่อ
                1. การกระทำอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้น บัญญัติเป็นความผิดซึ่งเป็นไปตามหลักที่ว่า “ไม่มีความผิดโดยปราศจากกฎหมาย”
                2. กฎหมายที่ใช้ในขณะนั้นต้องกำหนดโทษไว้ด้วย เป็นไปตามหลักที่ว่า “ไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย” การลงโทษต้องเป็นโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เช่น กฎหมายกำหนดโทษปรับศาลจะลงโทษจำคุกไม่ได้ แม้ศาลจะลงโทษปรับศาลก็ลงโทษปรับเกินอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่ได้
                กรณีตัวอย่าง ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 372 บัญญัติว่า ผู้ใดทะเลาะกันอย่างอื้ออึงในทางสาธารณะ หรือสาธารณสถานหรือกระทำโดยประการอื่นใด ให้เสียความสงบเรียบร้อยในทางสาธารณะหรือสาธารณะสถานต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท  ดังนั้น ถ้าผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรานี้ศาลจะลงโทษจำคุกไม่ได้  เพราะความผิดตามมาตราดังกล่าวกำหนดเฉพาะโทษปรับเท่านั้น ถ้าศาลจะลงโทษปรับก็จะปรับได้ไม่เกิน 500 บาท

5. เหตุที่กฎหมายไม่ลงโทษ
                โดยหลักทั่วไปแล้วบุคคลใดกระทำความผิดต้องรับโทษ แต่มีบางกรณีที่กฎหมายไม่ลงโทษ   เหตุที่กฎหมายไม่ลงโทษนั้น เป็นกรณีที่กฎหมายไม่ลงโทษผู้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด หมายความว่า ผู้กระทำยังมีความผิดอยู่แต่กฎหมายยกเว้นโทษให้ ต่างกับกรณียกเว้นความผิด ซึ่งผู้กระทำไม่มีความผิดเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามทั้งเหตุยกเว้นและหยุดยกเว้นความผิดต่างก็มีผลทำให้ผู้กระทำรับโทษเหมือนๆกัน
                เหตุยกเว้นโทษทางอาญา  
                การกระทำความผิดอาญาที่ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษถ้ามีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย เช่น
                    1. การกระทำความผิดด้วยความจำเป็น
                    2. การกระทำความผิดเพราะความบกพร่องทางจิต
                    3. การกระทำความผิดเพราะความมึนเมา
                    4. การกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน
                    5. สามีภริยากระทำความผิดต่อกันในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์บางฐาน
                    6. เด็กอายุไม่เกิน 14 ปีกระทำความผิด

6. เด็กและเยาวชนกระทำความผิด
                เด็กอาจกระทำความผิดได้เช่นเดียวผู้ใหญ่ แต่การกระทำความผิดของเด็กอาจได้รับโทษต่างจากการกระทำของผู้ใหญ่ ทั้งนี้เนื่องจากเด็กเป็นผู้อ่อนเยาว์ ปราศจากความรู้สึกรับผิดชอบหรือขาดความรู้สึกสำนึกเท่าผู้ใหญ่ การลงโทษเด็กจำต้องคำนึงถึงอายุของเด็ก   ผู้กระทำความผิดด้วย   กฎหมายได้แบ่งการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนออกเป็น 4 ช่วงอายุ คือ
                1) เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี
                2) เด็กอายุกว่า 7 ปี แต่ยังไม่เกิน 14 ปี
                3) เยาวชนอายุเกินกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี
                4) เยาวชนอายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี
            สำหรับเด็กในช่วงอายุไม่เกิน 7 ปี และเด็กอายุกว่า 7 ปีแต่ไม่เกิน 14 ปีเท่านั้น  ที่กฎหมายยกเว้นโทษให้ ส่วนผู้ที่อายุเกินกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี และผู้ที่มีอายุกว่า 17 ปี  แต่ไม่เกิน 20 ปี หากกระทำความผิดกฎหมายก็จะไม่ยกเว้นโทษให้ เพียงแต่ให้รับลดหย่อนโทษให้
                    6.1 เด็กอายุไม่เกิน 7 ปีการกระทำความผิด เด็กไม่ต้องรับโทษเลย ทั้งนี้เพราะกฎหมายถือว่าเด็กในวัยนี้ยังไม่สามารถรู้ผิดชอบได้ ฉะนั้นจะมีการจับกุมฟ้องร้อยเกในทางอาญามิได้
                    6.2 เด็กอายุกว่า 7 ปี แต่ไม่เกิน 14 ปีกระทำความผิด เด็กนั้นก็ไม่ต้องรับโทษเช่นกัน แต่กฎหมายให้อำนาจศาลที่จะใช้วิธีการสำหรับเด็ก เช่น
                            1) ว่ากล่าวตักเตือนเด็กนั้นแล้วปล่อยตัวไป
                            2) เรียกบิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่มาตักเตือนด้วยก็ได้
                            3) มอบตัวเด็กให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองไป โดยวางข้อกำหนดให้บิดามารดาหรือผู้ปกครองระวังเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้าย
                            4) มอบเด็กให้แก่บุคคลที่เด็กอาศัยอยู่ เมื่อเขายอมรับข้อกำหนดที่จะระวังเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้าย
                            5) กำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติ
                            6) มอบตัวเด็กให้กับบุคคลหรือองค์การที่ศาลเห็นสมควร เพื่อดูและอบรมและสั่งสอนเด็กในเมื่อบุคคลหรือองค์การนั้นยินยอม
                            7) ส่งตัวเด็กนั้นไปยังโรงเรียนหรือสถานฝึกอบรม หรือสถานที่ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อฝึกและอบรม
                    6.3 เยาวชนอายุเกิน 14 ปี แต่ไม่เกิน 17 ปีกระทำความผิด ผู้ที่อายุกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ให้ศาลพิจารณาถึงความรู้ผิดชอบและสิ่งอื่นทั้งปวงเกี่ยวกับผู้นั้นในอันควรวินิจฉัยว่าสมควรพิพากษาลงโทษผู้นั้นหรือไม่ศาลอาจใช้วิธีการตามข้อ 6.2 หรือลงโทษเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ โดยลดมาตราส่วนโทษที่จะใช้กับเยาวชนนั้นลงกึ่งหนึ่ง ก่อนที่จะมีการลงโทษเยาวชนผู้กระทำความผิด
                    6.4 เยาวชนอายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปีกระทำความผิด ผู้ที่อายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี กระทำอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นลง 1 ใน 3 หรือกึ่งหนึ่งก็ได้จะเห็นได้ว่า ผู้ที่อายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี กฎหมายไม่ถือว่าเป็นเด็ก   แต่กฎหมายก็ยอมรับว่า บุคคลในวัยนี้ยังมีความคิดอ่านไม่เท่าผู้ใหญ่จริง จึงไม่ควรลงโทษเท่าผู้ใหญ่กระทำความผิด โดยให้ดุลพินิจแก่ศาลที่จะพิจารณาว่า สมควรจะลดหย่อนผ่อนโทษให้หรือไม่ ถ้าศาลพิจารณาสิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับผู้กระทำความผิด เช่น ความคิดอ่าน การศึกษาอบรม ตลอดจนพฤติการณ์ในการกระทำความผิด เช่น กระทำความผิดเพราะถูกผู้ใหญ่เกลี้ยกล่อม หากศาลเห็นสมควรลดหย่อนผ่อนโทษให้ก็มีอำนาจลดมาตราส่วนโทษได้ 1 ใน 3 หรือกึ่งหนึ่งการลดมาตราส่วนโทษ คือ การลดอัตราโทษขั้นสูงและโทษขั้นต่ำลง 1 ใน 3  หรือกึ่งหนึ่งแล้ว จึงลงโทษระหว่างนั้น แต่ถ้ามีอัตราโทษขั้นสูงอย่างเดียวก็ลดเฉพาะอัตราโทษขั้นสูงนั้น แล้วจึงลงโทษจากอัตราที่ลดแล้วนั้น
                กรณีตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2516 จำเลยอายุ 19 ปี ยอมมีความรู้สึกผิดชอบน้อย ได้กระทำความผิดโดยเข้าใจว่าผู้ตายข่มเหงน้ำใจตน ศาลเห็นสมควรลดมาตราส่วนโทษลง 1 ใน 3

สรุปสาระสำคัญ
                    1. กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่ว่าด้วยความผิดและโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิด
                    2. ความผิดทางอาญา คือ การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศ
                    3. การกระทำความผิดอาญาออกเป็น 2 ลักษณะ คือ  ความผิดต่อแผ่นดิน และความผิดอันยอมความกันได้
                    4. ลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้ง หรือเป็นกฎหมายที่ไม่มีผลย้อนหลัง
                    5. โทษทางอาญา มี 5 ชนิด
                                1. ประหารชีวิต 2. จำคุก
                                3. กักขัง 4. ปรับ
                                5. ริบทรัพย์สิน
                    6. กระทำโดยเจตนา คือ การกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
                    7. กระทำโดยไม่เจตนา คือ ผู้กระทำไม่ได้ประสงค์ต่อผล หรือไม่อาจเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้
                    8. การกระทำโดยประมาท คือ การกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้น จะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านี้ได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
                    9. กฎหมายได้แบ่งการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนออกเป็น 4 ช่วงอายุ คือ
                            1) เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี
                            2) เด็กอายุกว่า 7 ปี แต่ยังไม่เกิน 14 ปี
                            3) เยาวชนอายุเกินกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี
                            4) เยาวชนอายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี

วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

ศาลยุติธรรมสามชั้น คืออะไร

พระบิดาแห่งกฎหมายไทย

กฎหมายแรงงาน

กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน หมายถึง กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการใช้แรงงานและการจ่ายค่าตอบแทนในการทำงาน ทั้งนี้ เพื่อให้ลูกจ้างทำงานด้านความปลอดภัย มีสุขภาพอนามัยดี ได้รับค่าตอบแทนและสวัสดิการตามสมควร

กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ เป็นกฎหมายที่กำหนดแนวทางปฏิบัติต่อกันระหว่างบุคคลสองฝ่าย คือ ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง เพื่อให้บุคคลทั้งสองฝ่ายได้มีความเข้าใจอันดีต่อกัน สามารถตกลงในเรื่องสิทธิหน้าที่ และผลประโยชน์ในการทำงานร่วมกันได้รวมทั้งกำหนดวิธีการระงับข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทแรงงานที่เกิดขึ้น
ให้ยุติลงโดยรวดเร็ว ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสงบสุข ในสถานประกอบกิจการ ซึ่งจะส่งผลถึงเศรษฐกิจและความมั่นคง
ของประเทศ

กฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กฎหมายดังกล่าวคือ พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
พ.ศ. 2534 เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและแรงงานสัมพันธ์ในภาครัฐวิสาหกิจ
เป็นการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ซึ่งไม่น้อยกว่ามาตรฐานขั้นต่ำตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

กฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน เป็นการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำให้สถานประกอบกิจการถือปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยที่ดีปราศจากอุบัติเหตุ และโรคเนื่องจากการทำงาน

"ประกาศหรือคำสั่งของกระทรวงแรงงาน และประกาศหรือคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงานที่ออกตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2515 ให้ยังคงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ทั้งนี้จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ระเบียบและประกาศ ที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ"

"พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มีสาระสำคัญดังนี้"



1. วันทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 6 วัน

2 . กำหนดเวลาทำงานปกติในทุกประเภทไม่เกิน 8 ชั่วโมง / วัน หรือไม่เกิน 48 ชั่วโมง / สัปดาห์
ถ้าเป็นการทำงานอันตรายต่อสุขภาพตามกฏกระทรวง กำหนดให้ทำงานไม่เกิน 7 ชั่วโมง / วัน หรือไม่เกิน 42 ชั่วโมง/สัปดาห์

3 . กำหนดเวลาพักระหว่างวันทำงาน ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง อาจตกลงพักน้อยกว่าครั้งละ 1 ชั่วโมงก็ได้ แต่รวมกันไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง / วัน

4 . กำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 วัน ห่างกันไม่เกิน 6 วัน และวันหยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน รวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย สำหรับวันหยุดผักผ่อนประจำปี ไม่น้อยกว่า 6 วันทำการ เมื่อลูกจ้างทำงานครบ 1 ปี


1. อัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัดภูเก็ตคือ 181 บาท/วัน

2. ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุด
ทำเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ได้รับค่าล่วงเวลา 1.5 เท่าของอัตราค่าจ้าง/ชั่วโมง
ทำงานในวันหยุดในเวลาปกติ / สำหรับวันหยุดที่ได้ค่าจ้างจะได้รับเพิ่มอีก 1 เท่า ในวันหยุดที่ไม่ได้รับค่าจ้างจะได้รับเพิ่มเป็น 2 เท่าของค่าจ้างในวันทำงาน
ทำงานล่วงเวลาในวันหยุด ได้รับค่าล่วงเวลาในวันหยุดไม่น้อยกว่า 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง ในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ
3. ลูกจ้างทั้งชายและหญิง มีสิทธิได้รับค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เท่าเทียมกันในงานที่มีลักษณะและคุณภาพอย่างเดียวกันและปริมาณเท่ากัน

1. ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง แต่ได้รับค่าจ้างไม่เกิน 30 วันทำงาน

2. ลาคลอดได้ไม่เกิน 90 วัน โดยได้รับค่าจ้าง 45 วัน

3. ลาเพื่อรับราชการทหาร ได้ไม่เกินปีละ 60 วัน โดยได้รับค่าจ้าง

4. ลาเพื่อทำหมันได้รับค่าจ้างตลอดเวลาที่แพทย์วินิจฉัยให้หยุด

5. ลากิจธุระ อันจำเป็น แล้วแต่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน

6. ลาเพื่อเข้ารับการอบรม

วันหยุด

1. วันหยุดประจำสัปดาห์ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน สำหรับลูกจ้างรายวันไม่ได้รับค่าจ้าง

2. วันหยุดตามประเพณี อย่างน้อยปีละ 13 วัน (รวมวันแรงงานแห่งชาติแล้ว) โดยได้รับค่าจ้าง

3. วันหยุดพักผ่อนประจำปี ปีละ 6 วันทำงาน โดยได้รับค่าจ้าง ซึ่งนายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าว



1. ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย หากนายจ้างเลิกจ้าง โดยลูกจ้างไม่มีความผิดดังนี้

1) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วันแต่ไม่ครบ 1 ปี มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
2) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปีแต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
3) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปี มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
4) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6 ปีแต่ไม่ครบ 10 ปี มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน
5) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน

2. กรณีย้ายสถานประกอบการ นายจ้างต้องแจ้งให้แก่ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่เกิน 30 วัน หากลูกจ้างไม่ต้องการไปทำงานด้วย ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญา โดยได้รับค่าชดเชยพิเศษ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ

3. ค่าชดเชยพิเศษ ในกรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุปรับปรุงหน่วยงานกระบวนการผลิต
การจำหน่ายหรือการบริการ อันเนื่องมาจากการนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือเทคโนโลยี
หากนายจ้าง ไม่แจ้งล่วงหน้าหรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่าระยะเวลา 60 วันนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษดังนี้

1) ลูกจ้างจะได้รับค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 60 วัน
2) ลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชยตามกฏหมาย
3) ลูกจ้างที่มีอายุงาน 6 ปีขึ้นไป มีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษปีละ 15 วัน เมื่อรวมค่าชดเชยทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 360 วัน

นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน
หนังสือเตือนให้มีผลบังคับใช้ได้ไม่เกินหนึ่งปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีสาเหตุอันสมควร
(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่เป็นนักโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ


1. ห้ามใช้แรงงานเด็ก อายุต่ำกว่า 15 ปีทำงานโดยเด็ดขาด

2. ห้ามใช้แรงงานเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ในกิจการบางประเภท และทำงานระหว่างเวลา 22.00 น. - 06.00 น. ทำงานวันหยุดและทำงานล่วงเวลา

3. ห้ามใช้แรงงานเด็กในสถานที่ เต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง และตามที่กำหนดในกฏหมาย

4. ให้ลูกจ้างเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี มีสิทธิลาเพื่อรับการอบรม สัมมนา ที่จัดโดยสถานศึกษา หรือหน่วยงานของรัฐ โดยได้รับค่าจ้างแต่ไม่เกิน 30 วันต่อปี

5. การว่าจ้างแรงงานเด็กต่ำกว่า 18 ปี ต้องแจ้งพนักงานตรวจแรงงานภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่เด็กเข้าทำงาน

1. การใช้แรงงานหญิง ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงทำงานต่อไปนี้
งานเหมืองแร่หรืองานก่อสร้างที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือปล่องในภูเขาเว้นแต่ลักษณะของงาน ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือ ร่างกายของลูกจ้างหญิงนั้น
งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป
งานผลิตหรือขนส่งวัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟ
งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
2. ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงที่มีครรภ์ทำงานในระหว่างเวลา 22.00น.-06.00น. ทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุดหรือทำงานอย่างหนึ่งอย่างใด

3. ห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างหญิงเพราะเหตุมีครรภ์

4. ให้แรงงานหญิงมีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตร ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน

5. ห้ามนายจ้าง หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงานหรือผู้ตรวจงาน ล่วงเกินทางเพศต่อแรงงานหญิง หรือเด็ก

1. ให้นายจ้างหรือสถานประกอบการที่มีลูกจ้างน้อยกว่า 50 คน ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในการทำงาน ระดับพื้นฐาน ระดับหัวหน้างาน และระดับบริหาร เพื่อดูแลความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบการร่วมกับนายจ้าง

2. การกำหนดให้นายจ้างหรือสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คน ขึ้นไป ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงานระดับหัวหน้างาน ระดับบริหาร และระดับวิชาชีพ

3. กำหนดให้สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานประกอบด้วย นายจ้าง ผู้แทนระดบับังคับบัญชา ผู้แทนลูกจ้างระดับปฏิบัติการ และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน โดยมีคณะกรรมการ ตามขนาดของสถานประกอบการ

4. การให้ความคุ้มครองอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับสภาพงานและได้มาตรฐานโดยให้นายจ้างเป็นผู้จัดให้ อาทิ ตามที่กำหนดในกฏกระทรวง ให้นายจ้างต้องจัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยสาวนบุคคลให้ลูกจ้างตามลักษณะของงาน และลูกจ้างต้องสวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าวตลอดเวลาการทำงานโดยบังคับ
กฎหมายเอกเทศสัญญา1
กฎหมายเอกเทศสัญญา1  
               กฎหมายเอกเทศสัญญา1  มีด้วยกัน 3 ลักษณะ  คือลักษณะสัญญาซื้อขาย  ลักษณะแลกเปลี่ยน  และลักษณะการให้
   ลักษณะสัญญาซื้อขาย เริ่มต้นที่มาตรา453  เป็นมาตราแรกซึ่งถือว่าเป็นประตูที่จะเปิดเข้าไปแล้วเข้าไปสู่ประตูของสัญญา ว่าเป็นอย่างไร?    มีอะไรบ้าง? ในสัญญานั้น หน้าที่และความรับผิดแต่ละฝ่ายกฎหมายบัญญัติไว้เช่นไร?และผู้ซื้อและผู้ขายตกลงกันไว้เช่นไร?ขัดต่อกฎหมายหรือไม่อย่างไร? ซึ่งเราต้องวิเคราะห์ดูแล้วจะเห็นว่าสัญญาซื้อขายมีหลายประเภทมาก
ถัดจากมาตรา 453 ก็จะมีมาตราต่างๆ เช่น  มาตรา 456, มาตรา 458 มาตรา 459,  มาตรา 460  สัญญาซื้อขายถูกแบ่งออกเป็นหลายประเภท ซึ่งกฎหมายได้จัดแบ่งเป็นประเภท
                ลักษณะสัญญาซื้อขาย คือสัญญาที่ผู้ขายจะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย       
      วิเคราะห์สัญญาซื้อขายจะเห็นว่ากฎหมายบัญญัติเรื่องผู้ขาย และหน้าที่ของผู้ขาย ที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่บุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ซื้อ
          การโอนกรรมสิทธิ์ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยสิทธิ  การถ่ายเท โอนความเป็นเจ้าของ
       ดังนั้นผู้ที่จะโอนกรรมสิทธิ์ได้ต้องเป็นเจ้าของในทรัพย์นั้นก่อน หรือมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นก่อน
        ในกรณีนี้มาตรา 453 จึงบัญญัติหลักเฉพาะเลยว่าผู้ขาย มีหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์ไปยังผู้ซื้อ
          และผู้ซื้อจะต้องใช้ราคาให้แก่ผู้ขาย
          วิเคราะห์ตรงคำว่า  ”ใช้ราคา” ราคาของทรัพย์สินนั้นมีค่าในตัวเอง  และเป็นข้อตกลงระหว่างคู่สัญญากันเอง
            ราคา ในตัวบท ถึงแม้ไม่ได้ระบุว่าเป็นสิ่งใด  ผู้ซื้อต้องการกรรมสิทธิ์ และผู้ขายต้องการได้ค่าตอบแทนดังนั้นความหมายของราคา จึงตีความว่าเป็น   ”เงิน”  เท่านั้น จะเป็นทรัพย์สินอื่นไม่ได้ เพราะมันจะกลายเป็นลักษณะ ของการแลกเปลี่ยนไป
“ เงิน ” จะเป็นเงินสด หรือเครดิตก็ได้
·         ลักษณะของสัญญาซื้อขาย  วัตถุประสงค์หลัก คือ การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ถ้าเปรียบเทียบกับสัญญาอื่น  เข่นสัญญาเช่า ในมาตรา 537 จะไม่มีคำว่า     ” การโอนกรรมสิทธิ์ ”
ถ้าเราสังเกต กฎหมายเอกเทศสัญญา 1 ทั้งสามลักษณะ  จะมีการโอนกรรมสิทธิ์ทั้งนั้นเลยครับ
ใครเป็นผู้โอนกรรมสิทธิ์  ก็คือผู้ขาย
ผู้รับโอนก็คือผู้ซื้อ
·         สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาที่มีค่าตอบแทน และเป็นสัญญาที่เราเรียกกันว่าสัญญาต่างตอบแทน
คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต่างมีประโยชน์ซึ่งกันและกัน     (ต่างมีหน้าที่ชำระหนี้ซึ่งกันและกัน)
การตอบแทนซึ่งกันและกัน หน้าที่ของผู้ซื้อและผู้ขาย
กรณีของผู้ขาย  ผู้ขายมีหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์แก่ผู้ซื้อ
               ผู้ซื้อ  ผู้ซื้อมีหน้าที่ต้องใช้ราคาแก่ผู้ขาย
               ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน (หรือมีหน้าที่ชำระหนี้ซึ่งกันและกัน)
                ถ้าผู้ขายเป็นลูกหนี้ ต้องส่งมอบทรัพย์สิน
                ถ้าผู้ขายเป็นเจ้าหนี้ต้องได้รับการชำระราคาแห่งทรัพย์ที่ขายไป
                ถ้าผู้ซื้อเป็นเจ้าหนี้ ต้องได้รับการส่งมอบทรัพย์สิน
ถ้าผู้ซื้อเป็นลูกหนี้ ก็ต้องชำระราคาให้แก่ผู้ขาย
              นอกจากนี้แล้วผู้ซื้อและผู้ขายจะบอกเลิกสัญญา หรือไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ไม่ได้  (การร่างสัญญาที่ตกลงกันไว้ ถ้าผู้ซื้อ หรือผู้ขายผิดสัญญา  การเลิกสัญญา เป็นเรื่องของการตกลงกันระหว่าผู้ซื้อ กับผู้ขายที่เป็นคู่สัญญา  ถ้าคู่สัญญาไม่ทำข้อตกลงกันไว้ ก็จะมีกฎหมายบัญญัติ เรื่องการเลิกสัญญาไว้)
            ลักษณะของสัญญาซื้อขายเป็นนิติกรรมหลายฝ่าย ( ทบทวนกันหน่อยครับ: นิติกรรมมีหลายประเภท เช่น  นิติกรรม ฝ่ายเดียว  นิติหรรมสองฝ่าย หลายฝ่าย นิติกรรมที่มีค่าตอบแทน  หรือไม่มีค่าตอบแทน หรือ ต่างตอบแทน ฯลฯ)
จากตัวบท ในมาตรา453 จะบัญญัติไว้เลยว่า ผู้ซื้อฝ่ายหนึ่ง ผู้ขายอีกฝ่ายหนึ่ง  และมีการแสดงเจตนาซึ่งกันและกัน
            ดังนั้นจะเห็นว่าสัญญาซื้อขายเป็นนิติกรรมหลายฝ่าย หรือสองฝ่าย
            กรณีที่จะดูว่าสัญญาซื้อขาย เกิดขึ้นหรือยัง  ต้องดูว่าคู่สัญญาได้แสดงเจตนาที่จะผูกพันกันหรือไม่อย่างไร?
            ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขาดเจตนา  หรือทั้งสองฝ่ายขาดเจตนาสัญญาก็ไม่เกิด  หรือไม่มีความผูกพันนั่นเอง
            ก็มีหลายสาเหตุนะครับ  นักศึกษาที่ได้ศึกษาไปแล้วว่า สาเหตุที่ทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะ  หรือโมฆียะ  ถ้าเป็นสัญญาซื้อขายที่ผู้ซื้อตกลงซื้อแล้ว แต่ผู้ซื้อถูกกลฉ้อฉล  หรือสำคัญผิดในคุณสมบัติทรัพย์สินนั้นก็ดี  สัญญาซื้อขายก็เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้  เช่นตกเป็น  “โมฆียะ “   ก็ต้องบอกล้างให้แล้วสัญญานั้นกลายเป็น  “โมฆะ”
**** สัญญาซื้อขาย คู่สัญญาต้องแสดงเจตนาอย่างสมบูรณ์
นอกจากนี้  เรื่อง  ”แบบของนิติกรรม” มาตราที่บัญญัติเรื่องแบบของนิติกรรม คือ มาตรา 456 วรรค แรก นั่นเอง
ซึ่งได้บัญญัติเรื่องแบบ ของการซื้อขาย อสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ นั่นเอง
สัญญาซื้อขายถูกแบ่งออกเป็นหลายประเภท ซึ่งกฎหมายได้จัดแบ่งเป็นประเภท
        ประเภทแรก คือสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด เป็นอย่างไร มาตรา 458 เป็นสัญญาซึ่งกรรมสิทธิ์ได้โอนไปยังผู้ซื้อ ตั้งแต่ขณะได้ตกลงทำสัญญาซื้อขายกัน  (คู่สัญญาตกลงเสร็จสิ้นแล้ว )ไม่ต้องทำตามแบบ ( แบบที่กฎหมายบัญญัติไว้ ในรูปสัญญาซื้อขาย ก็คือทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  ที่บัญญัติไว้ในมาตรา  456)
             สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด   แบ่งย่อยออกเป็น 2  กรณี    คือ สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดในอสังหาริมทรัพย์  หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ    (บัญญัติไว้ตาม 456 ผู้ขายได้โอนกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ เช่นนาย  ก เป็นเจ้าของที่ดินแปลหนึ่ง ตกลงจะขายที่ดินแปลงนี้ให้กับนาย  ข.  ทั้งนาย  ก และนาย ข  ได้ตกลงกันว่าจะได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ สิ้นปีนี้    ดังนั้นในระหว่างที่ยังไม่ถึงสิ้นปีที่จะมีการโอนกรรมสิทธิ์กัน เรายังไม่ถือว่าเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด   จะเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดก็ต่อเมื่อสิ้นปี  และผู้ขายคือ นาย  ก  มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น ให้แก่นาย  ข แล้ว  นั่นคือความสมบูรณ์ของสัญญาซื้อขาย แล้วกลายเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดนั้นเอง
                  กรณีที่เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดมีการ หลีกเลี่ยงกฎหมาย   คือไม่ได้ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้    อาจจะเป็นผู้ซื้อ หรือผู้ขายไม่มีเจตนาทำตามกฎหมาย ในเรื่องของ ‘  แบบ’   แม้จะเห็นว่าการซื้อขายนั้นจะเป็นโมฆะก็จริง   เราพูดถึงตัวสัญญา หรือสัญญานั้นเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว   เป็นโมฆะ  คือ ไม่ผูกพัน ผู้ที่ไม่รู้กฎหมายก็จะไม่รู้ไม่เข้าใจ    ซึ่งตามความเห็นของอาจารย์คิดว่า   ไม่น่าตีความว่าเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
             มาดูแต่ละกรณีนะครับ   มีการซื้อขาย  แต่ไม่มีการจดทะเบียนโอนกัน   (สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด)
                แต่กรณีที่กฎหมายกำหนด การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำตามแบบ  ก็ต้องทำตามที่กฎหมายกำหนด ในมาตรา456   ถ้าไม่ทำตามกฎหมายกำหนด ก็มีผลเป็นโมฆะไปเลย
          ความเป็นโมฆะ  คือ ไม่มีผลผูกพันตามกฎหมายคู่สัญญา แต่ละฝ่ายจะถือว่าไม่ได้ทำสัญญาตั้งแต่แรกเลย
( ดังนั้นเมื่อผลตามกฎหมายดังกล่าว  จะเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดได้อย่างไร?)
อีกตัวอย่าง หนึ่งนะครับ
นักศึกษาจะซื้อนาฬิกาของอาจารย์ อาจารย์ก็ยินดีขายให้ในราคา 1,000บาท เมื่ออาจารย์ตกลงจะขายให้กับนักศึกษาแล้ว และนักศึกษาตกลงจะซื้อแล้ว  (นี่คือความสมบูรณ์ของสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดแล้ว กรรมสิทธิ์ตกไปยังนักศึกษาแล้ว  คือการโอนกรรมสิทธิ์)
****** นักศึกษาอย่าไปวิเคราะห์ตรง การส่งมอบ , ใช้ราคา เพราะมาตรา 458 บัญญัติว่า กรรมสิทธิ์โอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่คู่สัญญาได้ทำการตกลงซื้อขายกัน (เพียงแต่อาจารย์ต้องถอดนาฬิกาให้นักศึกษาไปเท่านั้น)
                อีกประเภทหนึ่งก็คือสัญญาซื้อขายแบบมีเงื่อนไข  ‘ในการโอนกรรมสิทธิ์ เท่านั้น’ ไม่ใช่เงื่อนไขอย่างอื่นนะครับ
             ในมาตรา 459 ซึ่งได้บัญญัติไว้ จริงๆแล้วก็เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอีกประการหนึ่ง แต่กรรมสิทธิ์ ยังไม่โอนไปจนกว่าให้เป็นไปตามเงื่อนไขนั้น
             เงื่อนไขตามมาตรา 183 เป็นอย่างไร   ลองทบทวนนะครับ:  เงื่อนไขก็มีเงื่อนไขบังคับก่อน กับเงื่อนไขบังคับหลัง
หลักเกณฑ์ของเงื่อนไขคืออะไร?
               หลักเกณฑ์ของเงื่อนไขก็คือ เหตุการณ์ที่คู่สัญญาตกลงกัน  เป็นเหตุการณ์ที่จะเกิดในอนาคตแล้วนิติกรรมจะมี ผล จะสิ้นสุด ไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขยังคับก่อนหรือบังคับหลัง
แต่เงื่อนไขนี้ เป็นเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ ไม่ใช่เงื่อนอื่นๆนะครับ ดังนั้นเราจะเอาเงื่อนไขบังคับก่อนบังคับหลังมาใช้ ไม่ได้ ต้องนึกถึงเรื่องเงื่อนไขการโอนกรรมสิทธิ์นะครับ  เช่น อาจารย์ต้องการขายรถยนต์ให้นักศึกษา  และอาจารย์จะโอนกรรมสิทธิ์ให้ก็ต่อเมื่อนักศึกษาชำระราคาครบแล้ว  (เงื่อนไขในที่นี้ ก็คือการโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่อาจารย์จะโอนให้นักศึกษา   แต่นักศึกษาต้องชำระราคารถยนต์ให้อาจารย์ครบแล้ว)
ถ้านักศึกษาชำระราคารถยนต์ที่ซื้อจากอาจารย์ครบแล้ว อาจารย์จะส่งมอบ  อย่างนี้ไม่เรียกว่ามีเงื่อนไขนะครับ (อย่าไปตีความหมายของสัญญา จะซื้อจะขายนะครับ มันเป็นคนละกรณีนะครับ)
ข้อสังเกตของมาตรา 459  เงื่อนไข ก็ดี เงื่อนเวลาก็ดีที่จะเป็นสัญญาซื้อขายก็ดี ต้องเป็นเงื่อนไขของการโอนกรรมสิทธิ์ หรือเงื่อนเวลาต้องโอนกรรมสิทธิ์  เนื่องจากมีการประวิงเวลาหรือประวิงการโอนกรรมสิทธิ์ให้มันช้า
ดังนั้นการมีเงื่อนไข จะมีในสังหาริมทรัพย์ธรรมดา  เพราะถ้าเป็น อสังหาริมทรัพย์ หรือ สังหาริมทรัพย์พิเศษต้องทำตาม มาตรา 456 วรรคแรกอยู่แล้ว กรรมสิทธิ์จะโอนก็ต่อเมื่อ ทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ประเภทของทรัพย์สินที่ซื้อขาย    สัญญาจะซื้อจะขายมีเฉพาะการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพย์พิเศษ  เท่านั้นและต้องทำตามแบบมาตรา 456 วรรคแรก  (แบบของสัญญาซื้อขาย) เป็นบ่อเกิดแห่งสัญญาจะซื้อจะขายอย่างหนึ่ง เพราะสัญญาจะซื้อจะขาย ก็คือ คู่สัญญาตกลงกันในชั้นแรกว่าจะทำสัญญากัน  แต่กรรมสิทธิ์จะโอนไป นั้น คู่สัญญาต้องไปทำตามแบบในภายหลัง
 ทำตามแบบ ก็คือ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา 456 วรรคแรก ซึ่งถ้าทำแล้ว กรรมสิทธิ์ก็จะโอนไปยังผู้ซื้อแล้ว นี่คือสัญญาจะซื้อจะขาย(เรียกอีกอย่างว่า สัญญาจะซื้อขาย)ผู้ซื้อ ผู้ขายตกลงทำสัญญาซื้อขายกันก่อน เพราะเป็นหลักฐานหนึ่งซึ่งนำไปสู่สัญญาซื้อขายสมบูรณ์ ในกรณีมีการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ ไปยังผู้ซื้อนั่นเอง
ดังนั้นสัญญาจะซื้อจะขาย กรรมสิทธิ์ไมโอนไปทันทีเหมือนสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
สรุปสาระสำคัญของสัญญาจะซื้อจะขาย
1.       มีการตกลงกันระหว่าผู้ซื้อและผู้ขาย
2.       กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อในขณะนั้นเพราะไม่ได้ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดตามมาตรา456 วรรคแรก
3.       ผู้ขายมีสัญญากับผู้ซื้อว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ให้ในภายหลัง ไม่ใช่ขณะทำสัญญา
4.       ผู้จะขายไม่จำเป็นต้องมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายก็ได้ แต่การโอนกรรมสิทธิ์ผู้ขายต้องมีกรรมสิทธิ์(ช่วงจดทะเบียนโอนผู้ขายต้องเป็นเจ้าของหรือมีกรรมสิทธิ์  มิฉะนั้นแล้วจะโอนให้กับผู้ซื้อไม่ได้  แล้วก็จะเข้าบทบัญญัติที่ว่า ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน  ตราบใดที่ผู้โอนไม่มีกรรมสิทธิ์  ผู้รับโอนก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์เช่นกัน)
5 สัญญาจะซื้อจะขายมีได้เฉพาะอสังหาริมทรัพย์ หรือ สังหาริมทรัพย์พิเศษเท่านั้นและต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดนะครับ



https://sites.google.com/site/sukchusri/kdhmay-phaeng-laea-phanichy/kdhmay-xekthes-sayya1